ภาวะตลาดเงินบาท: บาทเย็นนี้ 37.85 อ่อนค่าเล็กน้อย-จับตาเฟด ให้กรอบสัปดาห์หน้า 37.75-37.95

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 28, 2022 16:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 37.85 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 37.80 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 37.68 - 37.88 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงบ่ายมีแรงซื้อดอลลาร์กลับเข้ามาจึงทำให้ เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ขณะที่การปรับประมาณการ GDP ปี 65 จากกระทรวงการคลังวันนี้ มีผลค่อนข้างจำกัดต่อค่าเงิน เนื่องจากปรับลด GDP ลงเพียงเล็กน้อยจากเดิม

ทั้งนี้ ตลาดรอดูสหรัฐรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในคืนนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสัปดาห์หน้า

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 37.75 - 37.95 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์ หน้าคือการประชุมเฟด ซึ่งต้องจับตาถ้อยแถลงประธานเฟดด้วยว่าหลังจากมติรอบพ.ย.นี้แล้ว จะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง หรือไม่ ในการประชุมเฟดรอบถัดไปเดือน ธ.ค.

THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 37.8113 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.45 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.41 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9943 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9989 ดอลลาร์/ยูโร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.4% จากเดิม 3.5%
เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลจากราคาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี มองว่าการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยช่วยหนุน
เศรษฐกิจได้ โดยปรับเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยปีนี้เป็น 10.2 ล้านคน ส่วนเงินเฟ้อทั้งปีเฉลี่ย 6.2% ส่งออกโต 8.1%

พร้อมคาดการณ์ปี 66 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.8% จากผลของการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้มากขึ้น จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน จะกลับมามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ขณะที่การส่งออกโต 2.5% ชะลอตัวจากปีนี้ และเงินเฟ้อลดลงเหลือ 2.9%

  • สศค. เผยเศรษฐกิจไทยเดือนก.ย.65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และการส่ง
ออก อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก และการดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างใกล้ชิด
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียในปี 65 และ 66 ลงสู่ระดับ 4.0% และ
4.3% โดยระบุว่า การที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน, อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากสงครามในยูเครน และ
เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการ
ประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด แต่สวนทางกับธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกที่ต่างใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน เพื่อ
ควบคุมเงินเฟ้อ
  • จีนประกาศมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสวนทางกับที่นักลงทุนคาดหวังว่าจีน
จะผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ โดยมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่นี้ ครอบคลุมตั้งแต่เมืองอู่ฮั่น ไปจนถึงเส้นทางอุตสาหกรรมของจีนบน
ชายฝั่งตะวันออก
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัด

อัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ