นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 38.02 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 38.05 บาท/ดอลลาร์
ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 37.92 - 38.09 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวแกว่งออกข้าง ขณะที่สกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่า โดยตลาดรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 2 พ.ย. 65 เป็นหลัก
นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 37.90 - 38.15 บาท/ดอลลาร์
THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 37.9740 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.26 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.11 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9922 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9947 ดอลลาร์/ยูโร
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ย. 65 เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดย
ภาคบริการฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงในช่วงก่อน
หน้า ขณะที่อุปสงค์ในประเทศค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน ขณะที่
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
สำหรับแนวโน้มเดือน ต.ค. 65 และระยะต่อไป กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยต้องติดตาม 1. การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน ค่าจ้าง และราคาสินค้า 2. อุปสงค์ของต่างประเทศที่ชะลอตัว และ 3. การแพร่ระบาดของโควิด- 19 และนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย.65 อยู่ที่ระดับ 97.9 ขยายตัว 3.36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ดัชนี MPI ขยายตัว 2.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สศอ. คาดการณ์ว่าในปี 65
ดัชนี MPI จะขยายตัวได้ 1.5-2.5% จากเดิมที่คาดไว้ 4-5% ส่วน GDP ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว 2-3% จากเดิมคาด 2.5-
3.5%
- โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันสิ้นสุดโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 ซึ่งผู้ได้รับสิทธิทุกรายสามารถ
ใช้จ่ายได้ภายในวันนี้จนถึงเวลา 22.59 น. ขณะเดียวกัน ยังเป็นวันสุดท้ายของการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อ
สวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 โดยประชาชนที่ต้องการได้รับสวัสดิการภายใต้โครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว หรือ
ยังไม่มีบัตรสวัสดิการจะต้องลงทะเบียนใหม่ทุกคน
- กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกในปี 66 จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่ง
เห็นได้จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ BBL ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทย
ปี 66 จะขยายตัวได้ 2-3% จากปี 65 ที่ 3-4% โดยเฉพาะได้ปัจจัยสนับสนุนจากนักท่องเที่ยวจีนที่จะกลับมาท่องเที่ยวในไทยปีหน้า
โดยสิ่งสำคัญของภาคธุรกิจในปีหน้า คือ ต้องมีสภาพคล่อง เพราะความท้าทายรอบนี้จะมีต่อไปอีกอย่างน้อยปีกว่า ดังนั้น อะไรที่เป็น
ต้นทุนไม่จำเป็นต้องปรับลดลง และโครงการอะไรที่รอได้ ให้รอไปก่อน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค. ปรับ
ตัวลงแตะระดับ 49.2 จากระดับ 50.1 ในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือนต.ค. ลดลงสู่ร่ะดับ 48.7 จากระดับ
50.6 ในเดือนก.ย. ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของจีนอยู่ในภาวะหดตัว
- เทรดเดอร์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับราคาธัญพืชที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากรัสเซียตัดสินใจระงับการมีส่วนร่วมในข้อตกลงการส่ง
ออกธัญพืช ซึ่งส่งผลให้ยูเครนไม่สามารถลำเลียงขนส่งธัญพืชจากภูมิภาคทะเลดำไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้
- การประชุมสุดยอดด้านการธนาคาร ซึ่งจะจัดขึ้นที่ฮ่องกงในสัปดาห์นี้ ต้องพบกับความท้าทายอีกครั้ง หลังจากมีผู้
บริหารธนาคารรายที่ 2 ถอนตัวออกจากการประชุม และพายุโซนร้อนนัลแกที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ฮ่องกง ก็ทำให้เกิดความไม่แน่
นอนครั้งใหม่
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-
ภาคบริการ ขั้นสุดท้ายเดือน ต.ค., ดัชนีภาคการผลิต-ภาคบริการ เดือน ต.ค., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ต.ค., จำนวน
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ต.ค.
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/กษมาพร กิตติสัมพันธ์