ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.56 ทิศทางยังแข็งค่า รอมติดอกเบี้ยเฟด คาดกรอบพรุ่งนี้ 37.50-37.80

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 2, 2022 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 37.56 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 37.68 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 37.56-37.78 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้า ขณะที่สกุลเงิน ภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม และค่อนข้างไร้ทิศทาง โดยระหว่างวันมีนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยเกือบ 4,000 ล้านบาท

สำหรับปัจจัยคืนนี้ ตลาดรอดูผลประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นหลัก ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ เท่าไร และรอติดตามว่าจะมีการส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลงในการประชุมตั้งแต่เดือนธ.ค.เป็นต้นไปหรือไม่

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 37.50 - 37.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.16 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.38 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9899 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9882 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.02 จุด ลดลง 0.71 จุด (-0.04%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 66,482 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 81.86 ลบ. (SET+MAI)
  • ธปท. ระบุเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ท่ามกลางความไม่แน่นอน โดยปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.3%
และปี 66 อยู่ที่ 3.8% แรงส่งหลักยังมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน โดยปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ
9.5 ล้านคน และปีหน้าเพิ่มเป็น 21 ล้านคน ขณะที่ภาคการส่งออกปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ถึง 8.2% ส่วนปี 66 จะลดลงเหลือ
1.1% ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อปีนี้ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว โดยทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.3% หลัง
จากนี้จะทยอยลดลง ส่วนปี 66 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.6% เข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3%
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ใน
กรอบ 3.0-3.5% มูลค่าการส่งออก ขยายตัว 7-8% และอัตราเงินเฟ้อ 6.0-6.5% โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้
ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว และอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่ในวงจำกัด โดยใน
ระยะข้างหน้าจำเป็นต้องติดตามความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และทบทวนการถอนนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจให้เหมาะ
สมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
  • นักลงทุนในตลาดการเงิน จับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงใน
คืนวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีก 0.75% หากเป็นไปตามคาด ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกัน 4 ครั้ง หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือน
มิ.ย.,ก.ค.และก.ย.
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า จีนจะยังสามารถคงนโยบายการเงินที่ปกติ และรักษาอัตราดอกเบี้ย
ที่เป็นบวก (positive interest rates) ไว้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะ
อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ราคาก๊าซธรรมชาติของยุโรปจะร่วงลงประมาณ 30% ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า
เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ได้รับปัจจัยหนุนด้านอุปทานเป็นการชั่วคราว
  • เจพีมอร์แกน ระบุว่า การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยการแสดง

ความคิดเห็นเชิงผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นในช่วงหลัง ของธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางแคนาดา (BoC), ธนาคารกลาง

สหรัฐ (FED) และธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ชี้ให้เห็นว่า ธนาคารกลางเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะชะลอการเพิ่มดอกเบี้ยในช่วง

หลายเดือนข้างหน้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ