นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 37.85 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าจากเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 37.56 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าจากเย็นวาน หลังจากเมื่อคืนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ตามที่ตลาดคาด ขณะที่ประธานเฟดระบุว่าภารกิจต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่เสร็จสิ้น แต่เฟดจะพิจารณาผลกระทบต่อเศรษฐกิจในการตัดสินใจปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอัตราที่ต่ำลงในการประชุมเดือนธ.ค.
"เช้านี้บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังจากเมื่อคืนเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด อีกทั้งประธานเฟด ยังบอกด้วยว่ายังเร็วเกินไปที่ จะพูดถึงการยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"นักบริหารเงิน ระบุ
สำหรับปัจจัยที่ตลาดรอดูวันนี้ คือการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% รวมทั้งรอ ดูตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ คือ ดัชนี ISM ภาคบริการ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 37.70 - 37.95 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (2 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.01803% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.42138%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.37 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.16 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.98315 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 0.9899 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 37.661 บาท/
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมเมื่อ
- คณะกรรมการเฟด ย้ำถึงความจำเป็นที่เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่เฟดจะพิจารณาถึงผล
- ขณะที่ประธานเฟด แถลงว่า ภารกิจของเฟดในการต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ใน
- ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 239,000
- ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 4.25% ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูง
- ตลาดรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) โดยคาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก
- นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในคืนนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนก.ย., ดัชนีภาคบริการเดือนต.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ
(ISM) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนต.ค.