ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.97 ทิศทางอ่อนค่าอาจกลับไปแตะ 38 คาดกรอบพรุ่งนี้ 37.90-38.15

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 3, 2022 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 37.97 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 37.85 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 37.76-38.02 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าและหลายสกุลเงินใน ภูมิภาคอ่อนค่าไปมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เช่น หยวนของจีน ริงกิตมาเลเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์ หลังจากประธานเฟดส่งสัญญาณ ว่าอัตราดอกเบี้ยปลายทางของสหรัฐยังไม่ถึงจุดพีค แม้จะคาดว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราชะลอลงในการประชุมครั้งหน้า

"เงินบาทวันนี้อ่อนค่าจากช่วงเช้า แต่ของเรายังอ่อนค่าไม่มากเท่ากับสกุลเงินในภูมิภาค เช่น หยวน ริงกิต และดอลลาร์ สิงคโปร์ ที่วันนี้อ่อนค่าไปเยอะ" นักบริหารเงินระบุ

คืนนี้ ตลาดรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐคืนนี้ คือ การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ต.ค.

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า และอาจกลับไปแตะที่ 38 บาท/ดอลลาร์ คาดกรอบที่ 37.90- 38.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.22 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 147.37 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9751 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.98315 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.62 จุด เพิ่มขึ้น 0.60 จุด (+0.04%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 52,199 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,916.40 ลบ.(SET+MAI)
  • ธปท. เผย หลังการประชุมเฟด อาจเห็นความผันผวนระยะสั้นในตลาดการเงินโลกและไทยบ้าง ทั้งนี้ การดำเนินนโยบาย
ของไทยในระยะต่อไป ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของไทยเช่นกัน ทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน
โดยการดำเนินนโยบายจะมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ธปท. ย้ำติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท และเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด โดยภาคเอกชนควรบริหาร
ความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
  • รมว.คลัง คาดว่า GDP ปีนี้ จะขยายตัวได้ 3.4% และการส่งออกขยายตัวได้ 8.1% ซึ่งในส่วนของภาคการส่งออกยังคงมี
ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
  • "สุพัฒนพงษ์" รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ เชื่อผลกระทบต่อประเทศไทย จากกรณีเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% จะมี
ไม่มากนัก ขณะที่ต้องติดตามว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรือไม่ ในการประชุมรอบ
ปลายเดือนพ.ย.นี้ ซึ่งรัฐบาลจะเข้าไปก้าวก่ายไม่ได้
  • เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า ECB ควรปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม เพื่อฉุดดึงเงินเฟ้อให้
กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุม โดยมองว่า ECB จำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อฉุดให้เงินเฟ้อหวนคืนสู่เป้าหมายระยะกลาง
  • ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกันในวันนี้ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในอีก
ไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเงินริงกิตที่อ่อนค่าจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ส่งสัญญาณว่า BSP มีแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% จุดในการประชุมนโยบายในช่วง
ปลายเดือนนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการคุมเข้มนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนต.ค.เนื่องจาก
ทางการเกาหลีใต้ดำเนินมาตรการลดความผันผวนในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
  • สำนักงานสถิติตุรกี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 24

ปีที่ 85.51% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากธนาคารกลางตุรกีปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่อง แม้เงินเฟ้อพุ่งสูง

ขึ้นก็ตาม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ