นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.77 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.88 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.67 - 36.98 บาท/ดอลลาร์ เย็นนี้เงินบาทแข็งค่าเช่นเดียวกับสกุล เงินในภูมิภาค หลังผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ พรรครีพับลิกันได้เสียงข้างมากในสภาล่าง ส่วนในสภาสูงค่อนข้างสูสี ทำ ให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น
"ระหว่างวัน เงินบาทลงไปอยู่ที่ 36.67 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 8 สัปดาห์" นักบริหารเงิน
ระบุ
ปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ ยังต้องรอผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ ของการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ส่วนพรุ่ง นี้ต้องติดตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 36.75 - 37.00 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 145.60 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0060 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0066 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,622.45 จุด ลดลง 10.16 จุด (-0.62%) มูลค่าการซื้อขาย 61,218 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,866.72 ลบ. (SET+MAI)
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนต.ค.65 อยู่ที่ 93.1 จาก 91.8 ในเดือนก.ย. 65 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 5 โดยมีปัจจัยบวกมาจากภาครัฐยกเลิกโรคโควิด-19 จากโรคติดต่อร้ายแรง มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หลังการ
ระบาดคลี่คลาย, ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ และภาคการท่องเที่ยว, ประเทศคู่ค้า
เริ่มสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า เพื่อส่งมอบช่วงปลายปี, มาตรการดูแลพลังงานของภาครัฐ และปัญหาขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลาย
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยผลสำรวจเดือนต.ค.65 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนัก
ลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 108.86 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 60.5% จากเดือนก่อนหน้าขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" นักลงทุน
มองว่าการฟื้นต้วของภาคท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรมเดือน ต.ค.65 มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 49% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
เนื่องจากมีช่วงวันหยุดยาวและเป็นช่วงปิดเทอม ประกอบกับมีการใช้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันในเดือนสุดท้าย รวมทั้งจำนวนนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเข้ามาเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าอัตราการเข้าพักเดือน พ.ย. 65 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 52%
- กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงทิศทางเงินทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
หรือ Fund Flow ว่า ตั้งแต่ต้นปี 65 ยังไหลเข้าตลาดหุ้นไทยและเข้ามามากในเดือนส.ค.-ก.ย. ราว 5 พันล้านเหรียญ เพราะ
เชื่อมั่นตลาดหุ้นไทยที่ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาดีขึ้นมาก การ
ฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยฟื้นแบบ K Shape เห็นบริษัทที่เกี่ยวกับการส่งออกและกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันก็มีหลาย บจ.ที่
กำลังฟื้นตัว หลังนักท่องเที่ยวกลับมา ซึ่งจะทำให้บริษัทในธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม โลจิสติกส์ และการบริโภคภายในประเทศจะ
ฟื้นตัวขึ้น
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร (CEO Survey) ต่อ Economic
Outlook ปี 65-66 ว่า CEO เปลี่ยนมุมมองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่หรือ 80% ของ CEO คาดว่าเศรษฐกิจในปี
65 และ 66 จะดีขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตที่ 2-3% ด้วยปัจจัยสนับสนุนสำคัญคือ การท่องเที่ยว การส่งออก และ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
ไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่อเนื่องในปี 66 ที่ระดับ 3-4%
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้
จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 2.1% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก.ย. ที่มีการขยายตัว 2.8%
และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4%
- ราคาคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งรวมถึงบิตคอยน์และอีเธอร์ร่วงลงอย่างต่อเนื่องในวันนี้ หลังจากไบแนนซ์ (Binance)
ซึ่งเป็นบริษัทซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ที่สุดของโลก เข้าซื้อกิจการเอฟทีเอ็กซ์ (FTX) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินคริ
ปโทฯ โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงภาวะระส่ำระสายที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ย. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/กษมาพร กิตติสัมพันธ์