นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.02 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าต่อ เนื่องจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก โดยมีปัจจัยหลักเรื่องตัวเลข เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าตลาดคาด ทำให้มีการทบทวนคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อน ค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงมา ประกอบกับทางการจีนมีมาตรการผ่อนคลายเรื่องโควิด-19 ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคแข็งค่า ระหว่างวันเงินบาท เคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.70 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ และวันนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตร 5.2 พันล้านบาท
"วันนี้บาทผันผวนหนักมาก ระหว่างวันลงไปแตะ 35.70 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน" นักบริหารเงิน
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.80 - 36.20 บาท/ดอลลาร์
โดยตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม ต้องดูทิศทางของบอนด์ยีลด์ และรอฟังเจ้าหน้าที่เฟดออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 140.51 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.86 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0257 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0179 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,637.29 จุด เพิ่มขึ้น 18.06 จุด, +1.12% มูลค่าการซื้อขาย 86,477.24 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,259.83 ล้านบาท(SET+MAI)
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) มองในระยะต่อไปคาดเงินบาทจะไม่อ่อนค่าลงมาก แม้ธนาคารกลาง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 ต.ค.65 รวมแล้วกว่า
- กรมชลประทาน เผยปีงบ 66 เตรียมงบกว่า 5,336 ล้านบาท เพื่อจ้างเกษตรกรในพื้นที่ราว 86,000 คน มาปฏิบัติงาน
- จีนประกาศลดระยะเวลาการกักตัวของนักเดินทางขาเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญของนโยบายโควิดเป็นศูนย์
- คณะกรรมการด้านสุขภาพแห่งชาติ (NHC) ของจีนเปิดเผยว่า ทางการจีนจะยังไม่ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด
- เศรษฐกิจอังกฤษหดตัว 0.2% ในไตรมาส 3/2565 ซึ่งส่งสัญญาณว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจถดถอยระยะยาว หลัง
- สำนักงานสถิติแห่งเยอรมนี (FSO) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนี ซึ่งได้รับการปรับค่าเพื่อให้สามารถเทียบ