ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.59 ทิศทางยังแข็งค่า มองกรอบพรุ่งนี้ 35.50-35.80

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 15, 2022 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.69 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.52-35.76 บาท/ดอลลาร์

ด้านสกุลเงินภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าจากช่วงเช้า เนื่องจาก Sentiment ในตลาดดีขึ้น หลัง การเจรจาระหว่างนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ประกอบกับผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐย่อลง

"วันนี้เงินบาทแตะ 35.52 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 3 เดือน" นักบริหารการเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50-35.80 บาท/ดอลลาร์ ตลาดรอดูดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค. ของสหรัฐฯ คืนนี้ และจับตาถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.48 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 140.31 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0394 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0316 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,629.38 จุด เพิ่มขึ้น 6.00 จุด (+0.37%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 61,703 ล้าน
บาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 444.42 ลบ. (SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มียอดประชาชนลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ รวม
308,454 รายการ จำนวนลูกหนี้ 134,698 คน สินเชื่อที่มีการลงทะเบียนสูงสุด คือ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 77% เช่าซื้อรถ
ยนต์ 7% และจำนำทะเบียนรถ 4%
  • ธปท. ขยายระยะเวลาลงทะเบียน งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค. 66 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย.
65 พร้อมเพิ่มเติมประเภทสินเชื่ออีก 2 ประเภท คือ สินเชื่อธุรกิจ วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยวงเงินไม่เกิน
5 ล้านบาท
  • ผู้ว่าฯ ททท. คาดไตรมาส 4/65 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้าไทยไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคน/เดือน เชื่อทั้งปีจะมีนัก
ท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวในประเทศที่เข้าสู่ฤดูหนาว จะส่งผลดีให้การท่องเที่ยวคึกคักมากขึ้น แต่ยังมี
ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ค่าเงินผันผวนจากเงินเฟ้อ และวิกฤติพลังงานที่จะกลายเป็นวิกฤติค่าครองชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายในการ
ท่องเที่ยวให้ลดน้อยลง
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า PBOC อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยลูกค้า
ชั้นดี (LPR) ในสัปดาห์หน้า ท่ามกลางสัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน PBOC ได้อัดฉีดสภาพคล่องมูลค่า 8.50 แสน
ล้านหยวน (1.2016 แสนล้านดอลลาร์) เข้าสู่ระบบการเงิน และอัดฉีดสภาพคล่องมูลค่า 1.72 แสนล้านหยวนผ่านทางข้อตกลง
reverse repurchase ประเภทอายุ 7 วันที่อัตราดอกเบี้ย 2%
  • การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ครั้งที่ 17 เปิดฉากขึ้นแล้วในวันนี้ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยประเด็นที่จะ
หารือกันครอบคลุมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก, ระบบสาธารณสุขโลก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการประชุมสุดยอด
G20 จะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ภายใต้หัวข้อ "Recover Together, Recover Stronger" โดยนอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ที่
ประชุมจะหารือกันในเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล รวมทั้งความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) รายงานว่า อัตราว่างงานของฝรั่งเศสในไตรมาส 3/65 ปรับตัวลงเล็ก
น้อยสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐบาลฝรั่งเศสที่กำลังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง ทั้งนี้ อัตราว่างงานไตรมาส 3/65 ถือว่าอยู่
ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/51 โดยไม่นับรวมช่วงที่โควิด-19 ระบาดแรก ๆ เนื่องจากผู้คนไม่สามารถหางานทำได้ในช่วงที่มีการ
ล็อกดาวน์ทั่วประเทศ
  • ญี่ปุ่น รายงาน GDP ไตรมาส 3/2565 หดตัวลง 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 1 ปี และ

สวนทางกับการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากการอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง และยอดการนำเข้ามีปริมาณสูงกว่าการส่งออก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ