ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.75 แข็งค่าแม้มีเงินไหลออกต่อเนื่อง ตลาดรอตัวเลข GDP ไทยสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 18, 2022 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.75 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.88 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.75 - 35.90 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวตามทิศทางของสกุลเงินภูมิภาค แม้ว่าจะมีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้นัก ลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 8,500 ล้านบาท แต่เงินบาทยังคงกลับมาแข็งค่าได้ ประกอบกับช่วงบ่ายมีแรงซื้อสกุลเงินยูโรและขาย ดอลลาร์ออกมาด้วย

"วันนี้เงินบาทปิดตลาดที่ 35.75 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าสุดของวัน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.60 - 35.85 บาท/ดอลลาร์ สำหรับสัปดาห์ หน้าต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของไทย คือ สภาพัฒน์ประกาศ GDP ไตรมาส 3/65 ส่วนสหรัฐฯ ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.93 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 140.10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0384 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0364 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,617.38 จุด เพิ่มขึ้น 2.43 จุด (+0.15%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 56,407 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 552.47 ลบ. (SET+MAI)
  • รมว.คลัง ได้ร่วมประชุมหารือทวิภาคีกับ กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในระหว่างการ
ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดย IMF ได้ชื่นชมการบริหารจัดการนโยบายการคลังของไทย
โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ โดยที่เงินกู้ของรัฐบาลเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของสกุลเงินบาท ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการที่
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า
  • ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ เห็นพ้องกันว่าท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ ยังมีปัจจัยบวกจากการ
เปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการค้าการลงทุนที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจไปสู่คนทุกกลุ่ม รวมถึงการขจัดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3/65 และแนวโน้ม
ปี 2565-2566 ในวันที่ 21 พ.ย.นี้
  • ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ECB จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอาจถึงขั้นต้องจำกัดกิจกรรม
เศรษฐกิจ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยชี้ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญของ ECB เหนือการลดบัญชีงบดุล
  • นักลงทุนคาดการณ์ว่า ECB มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% - 0.75% ในเดือนธ.ค. หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75%
ติดต่อกันสองครั้ง และเตรียมลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2566
  • ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.ลงสู่
ระดับ 0.50% หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ถึง 4 ครั้งติดต่อกัน ขณะที่บางส่วนมองว่า การที่เฟดคุมเข้มนโยบาย
การเงินยาวนานมากขึ้นและปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดให้สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานทั่วประเทศซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสด พุ่งขึ้น 3.6% ในเดือนต.
ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบ 40 ปี เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้ต้นทุนพลังงานพุ่งสูงขึ้น
  • สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า จีนควรจะตั้งเป้าการขยายตัวของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2566 ไว้ที่อย่างน้อย 5% และเร่งฟื้นเศรษฐกิจจากที่ชะลอตัวในปัจจุบัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ