ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.52/55 แข็งค่าจากช่วงเช้า คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.40-35.70

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 28, 2022 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.52/55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.04 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.52 - 36.08 บาท/ดอลลาร์

ภาพรวมเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยระหว่างวัน อาจมีแรงซื้อขาย ประกอบกับข่าวจากประเทศจีน ประเด็นโควิด-19 กลับมาแพร่ระบาดหนักอีกครั้ง และเรื่องการประท้วงต่อต้าน มาตรการ Zero COVID ด้านสกุลเงินอื่นๆ แข็งค่าสวนทางกับดอลลาร์ ส่วนสกุลเงินยูโรอ่อนค่าเล็กน้อย เนื่องจากตัวเลขความเชื่อมั่นออก มาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40 - 35.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.79/81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 138.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0444/0447 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0341 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,616.91 จุด ลดลง 3.93 จุด (-0.24%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 38,679 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 633.76 ลบ. (SET+MAI)
  • รมว.พาณิชย์ เปิดเผยการส่งออกของไทยในเดือนต.ค. 65 มีมูลค่า 21,772 ล้านดอลลาร์ หดตัว -4.4% ทั้งนี้ การส่ง
ออกในเดือน ต.ค. 65 พลิกมาติดลบครั้งแรกในรอบ 19 เดือน นับตังแต่เดือน ก.พ. 64 ที่การส่งออกติดลบ -4.1% จากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อนหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกดดันการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ และในปี 66 คือ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โลก มาตรการ Zero Covid ของจีนที่ยังไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลง รวมถึงดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงต่อ
เนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมั่นใจว่าการส่งออกของไทยในปีนี้ จะขยายตัวได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4% อย่างแน่นอน
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนต.ค. 65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาค
การท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณทรงตัวจากเดือนก่อน
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนต.ค. 65 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อ
เนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ใน
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้รายงานให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.
กลาโหม รับทราบถึงแนวโน้มการเลือกพื้นที่การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติว่าได้เปลี่ยนแปลงไป หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย
มีการเพิ่มปัจจัยความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนการผลิต, นโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต เช่น ในช่วงเกิดโรคระบาด
ที่ไม่กระทบภาคธุรกิจ การผลิตอุตสาหกรรม และการส่งออก
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปรับประมาณการ
เศรษฐกิจไทยปี 65 เป็น 3.2% จากเดิมที่ 3.0% โดยได้รับแรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ได้
รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น

ขณะเดียวกัน EIC ได้ปรับลดประมาณการณ์เติบโตของเศรษฐกิจในปี 66 เหลือ 3.4% จากเดิมที่ 3.7% หลังโน้มเศรษฐกิจ โลกที่ชะลอลงมากภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น บางประเทศหลักจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้การส่งออกและการลงทุนของไทย ชะลอลงตาม

  • คณะกรรมการด้านสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) เปิดเผยว่า จีนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 40,347 ราย ในวัน
อาทิตย์ (27 พ.ย.) ซึ่งเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ 3,822 ราย และไม่
แสดงอาการ 36,525 ราย
  • โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนอาจจะยุติการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Covid Zero) ก่อนเดือนเม.ย.66 ซึ่ง
เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และมีความเป็นไปได้ว่าการยุตินโยบายดังกล่าวจะเป็นไปอย่างไร้ระเบียบ หลังจากการใช้นโยบายที่เข้ม
งวดเพื่อควบคุมโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการประท้วงทั่วประเทศ
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จีนจากแมกควารี (Macquarie) เปิดเผยว่า จีนไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงนโยบายโควิดครั้งใหญ่ใน
เร็วๆ นี้ แม้จะมีการประท้วงในหลายพื้นที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม โดยหนึ่งในเหตุผลที่ประชาชนไม่พอใจ คือการที่รัฐบาลท้องถิ่นดำเนิน
การตามนโยบายของรัฐบาลกลาง
  • ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐส่งสัญญาณว่า สหรัฐมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์

ว่า ทิศทางระยะยาวสำหรับอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปแบบขาลง แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ