ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.44 แข็งค่าในรอบ 3 เดือนตามเงินหยวน จับตามติกนง.พรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 29, 2022 16:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.78 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.42 - 35.80 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 35.42 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน เงินบาทแข็งค่าตามทิศทางของสกุลเงิน หลักในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินหยวนที่แข็งค่าเร็ว หลังมีข่าวจีนประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขายหุ้นเพื่อระดมเงินทุน ซึ่ง เป็นข่าวที่ช่วยหนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน นอกจากนี้ ยังมีแรงเทขายดอลลาร์ หลังจากบอนด์ยิลด์ย่อตัวลง ส่งผลให้ดอลลาร์ปรับตัวอ่อน ค่าลงจากในช่วงเช้า

"ช่วงเย็น เงินบาทแข็งค่าตามภูมิภาค โดยเฉพาะเงินหยวนที่แข็งค่าเร็ว รับข่าวจีนที่ออกมาตรการมาช่วยหนุนภาคอสังหาฯ"
นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.35 - 35.70 บาท/ดอลลาร์ โดยต้องติดตามการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดคาดว่ารอบนี้ กนง.จะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปสู่ระดับ 1.25%

THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.5172 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 138.05 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 138.80 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0386 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0358 ดอลลาร์/ยูโร
  • จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันพรุ่งนี้ ซึ่งตลาดคาดว่า ที่ประชุม กนง.จะมีมติปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.25% และการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในปี 65
และ 66
  • ครม.เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลัก
ทรัพย์ ซึ่งจะกลับไปเก็บภาษีในอัตรา 0.11% ตามกฎหมายเดิม หลังจากยกเว้นให้มานาน โดยในปีแรกจะจัดเก็บในอัตราเพียงครึ่งหนึ่ง
หรือ 0.055% และให้เวลาเตรียมตัว 3 เดือนก่อนเริ่มเก็บจริง
  • ดัชนี Bloomberg JPMorgan Asia Dollar Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ในเอเชีย พุ่ง
ขึ้น 2.7% ในเดือนพ.ย. และมีแนวโน้มที่จะทำสถิติรายเดือนที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.59 โดยเงินวอนของเกาหลีใต้ทำผลงานได้
ดีที่สุดด้วยการพุ่งขึ้น 7% ตามด้วยเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น 6.8%
  • ดัชนี Bloomberg Global Aggregate Bond sub-Indexes ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรทั่วโลกได้เกิดภาวะ inverted yield curve เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออัตราผลตอบแทน
พันธบัตรระยะสั้นดีดตัวสูงกว่าระยะยาว
  • นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดซึ่งมีกำหนดกล่าวปาฐกถาว่าด้วยนโยบายการเงินและการคลัง ที่สถาบัน

บรู้กกิงส์ในวันที่ 30 พ.ย. โดยนายพาวเวลจะแสดงมุมมองเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน รวมถึงตัว

เลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565 (ประมาณการครั้งที่ 2), ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุน

เวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ