ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารผู้โดยสาร 2 อาคาร และมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารรวม 30 ล้านคนต่อปี ซึ่ง ทอท. มองว่า โครงการ ฯ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถเดิมของท่าอากาศยานดอนเมือง และพัฒนาให้เต็มศักยภาพของพื้นที่เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 40 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นระดับจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศและภายในประเทศที่ท่าอากาศยานดอนเมืองให้บริการอยู่ในปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รองรับปริมาณจราจรทางอากาศและผู้โดยสาร
โดยแนวทางดำเนินการ ประกอบด้วย 6 กลุ่มงาน ดังนี้
กลุ่มงานที่ 1 : งานพัฒนาด้านทิศใต้ เช่น งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารอาคาร 3 พร้อมอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 6 และงานปรับปรุงอาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น เป็นชานชาลาจอด รับ - ส่งผู้โดยสาร
กลุ่มงานที่ 2 งานพัฒนาพื้นที่ด้านทิศเหนือ เช่น งานปรับปรุงหลุมจอดอากาศยานด้านทิศเหนือ และงาน ก่อสร้างขยายอาคารเทียบเครื่องบินด้านทิศเหนือ / อาคาร สานักงานสายการบิน / อาคารรับรองพิเศษ VVIP
กลุ่มงานที่ 3 : งานก่อสร้างในพื้นที่เขตปฏิบัติการการบิน เช่น งานก่อสร้างลานจอดอากาศยานด้านทิศเหนือพร้อมทางขับเชื่อม
กลุ่มงานที่ 4 : งานปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 อาคารเทียบเครื่องบินด้านทิศเหนือ เช่น งานปรับปรุง อาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 อาคารเทียบเครื่องบิน หมายเลข 2 - 4
กลุ่มงานที่ 5 : งานสนับสนุนโครงการพัฒนา ได้แก่ งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
กลุ่มงานที่ 6 : งานสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานจ้างติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะ การปรับปรุงและฟื้นฟูสิ่งอำนวยความสะดวกโครงการฯ
"วงเงินลงทุน 36,829 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนจากภายใน คือ เงินรายได้ของ ทอท. เป็นอันดับแรก และหากสภาพคล่องจากการดำเนินงานไม่เพียงพอสำหรับโครงการลงทุนต่างๆ จึงจะจัดหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกมาชดเชย" นายอนุชา กล่าว