ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.98/35 แข็งค่าตามภูมิภาค คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.80-35.20 รอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 1, 2022 17:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.98/35.00 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 34.86 - 35.13 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ แต่เป็นผลต่อเนื่องจากข่าวเมื่อคืนนี้ ที่ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้ความเห็นทิศทางเดียวกับรายงานการประชุมเฟดครั้งล่าสุด คือ ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80 - 35.20 บาท/ดอลลาร์ โดยยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่ต้อง ติดตามในคืนนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.43/46 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 136.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0434/0436 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0246 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,648.44 จุด เพิ่มขึ้น 13.08 จุด (+0.80%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 75,294 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,313.01 ลบ. (SET+MAI)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย บัญชีเงินฝากดิจิทัล ทีทีบี มีเซฟ อีก 0.60% จากอัตรา
ปัจจุบัน เป็นสูงสุด 1.70% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 65 เป็นต้นไป
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถึงสิ้นเดือนม.ค. 66 และในปีหน้าธนาคารจะทยอยปรับขึ้น
เพียง 0.15-0.25% ต่อปี ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินงวดให้ปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มี Buffer หรือ
การคำนวณเงินงวดผ่อนชำระเผื่อกรณีมีการปรับอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCBEIC) และ Krungthai COMPASS คาดว่า คณะกรรมการ
นโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องอาจขึ้นไปแตะระดับ 2.00% ในช่วงครึ่งแรกของปี 66
  • เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) และมอร์แกน สแตนลีย์คาดการณ์ว่า อินเดียอาจกลายมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจ
ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกแซงหน้าญี่ปุ่นและเยอรมนี
  • ซีอีโอของบริษัทเทสลาและเจ้าของบริษัททวิตเตอร์ ทวีตข้อความเรียกร้องให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยในทันที มิฉะนั้นความ
เสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะถดถอยจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตหดตัวลงทั่วภูมิภาคเอเชียในเดือนพ.ย. เนื่องจากการชะลอตัวลงของอุปสงค์
ทั่วโลก และความไม่แน่นอนของผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19 ในจีน ได้สร้างแรงกดดันต่อความ
เชื่อมั่นภาคธุรกิจ
  • จีนส่งสัญญาณเปลี่ยนแปลงจุดยืนด้านโควิด-19 หลังเคลื่อนไหวผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการสกัดโรคระบาดบางส่วน แม้
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันพุ่งสูง โดยพื้นที่หลายสิบเขตในนครเซี่ยงไฮ้และเมืองกว่างโจวหลุดพ้นจากมาตรการล็อกดาวน์แล้วในวันนี้
(1 ธ.ค.) แม้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ