นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.00 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 34.77 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่า หลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาทองในตลาดโลกปรับ ตัวลดลงมากจะเป็นแรงกดดันให้บาทอ่อนค่า
"เช้านี้บาทปรับตัวอ่อนค่าตามภูมิภาค แต่เมื่อวานค่าเงินภูมิภาคแข็งค่าตามหยวนหลังมีข่าวจีนผ่อนคลายมาตรการโควิด- 19 แต่เราเป็นช่วงวันหยุด" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.10 บาท/ดอลลาร์ วันนี้จับตาดูทิศ ทางของเงินทุนต่างประเทศ ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร และรอการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ย.65 ของกระทรวง พาณิชย์ โดยตลาดคาดว่าจะชะลอตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.8%
THAI BAHT FIX 3M (2 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.10636% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.60719%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.01625 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 136.47 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 134.06/10 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0504 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0526/27 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.774 บาท/
- กรมการค้าภายในกางแผนดูแลสินค้าปี 66 ยังขอความร่วมมือผู้ผลิตตรึงราคาต่อ ยึดหลักทั้ง 3 ฝ่ายต้องอยู่ร่วมกันได้
- ประธาน ส.อ.ท.เปิดมุมมองเศรษฐกิจไทยปี 2566 ยังคงเปราะบางและผันผวนตามสถานการณ์ของโลก
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศหลายแห่ง ทั้งทริสเรทติ้ง, มูดีส์ อินเวสเตอร์ และฟิทช์ เรทติ้งส์
- "แอตต้า" หวังรัฐบาลจีน ทบทวนนโยบาย "ซีโร่โควิด" อนุญาตชาวจีน เที่ยวต่างประเทศ-สายการบินทำการบิน
- นักเศรษฐศาสตร์ ประเมินเหตุประท้วงคุมโควิดในจีน แม้คลี่คลาย แต่ต้องจับตาใกล้ชิด เหตุผู้รับวัคซีนยังน้อย ห่วงผู้
- กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 263,000 ตำแหน่งใน
- ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 89% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. และคาดว่า
- ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต
(PPI) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ