ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.08/10 แข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย ตลาดยังไร้ปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 7, 2022 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.08/10 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.14 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 - 35.11 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวัน ยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอดูการประชุมสัปดาห์หน้าของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เรื่องอัตราดอกเบี้ยรอบสุดท้ายของปี

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.90 - 35.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.40/80 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 137.11 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0473/0475 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0464 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,622.28 จุด ลดลง 10.69 จุด (-0.65%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 55,956 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,359.01 ลบ. (SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพ.ย. 65 อยู่ที่ 107.92
เพิ่มขึ้น 5.55% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) เพิ่มขึ้น 6.10% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ย. ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดย
เฉพาะผักสด ผลไม้สด เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร

ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนธ.ค. 65 โดยคาดว่าจะยังขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงาน สินค้ากลุ่มอาหาร และค่าโดยสารสาธารณะ ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น

  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 3 ของปี 65 อีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.25% โดยได้
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ MLR และ MOR 0.25% ขณะที่ปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย MRR เพียง 0.13%
  • กกร. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 66 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.0-3.5% ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าประเทศ
คู่เทียบในภูมิภาคอาเซียนอย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่การส่งออกประเมินว่าจะชะลอตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่
อ่อนแอลง ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 1.0 -2.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2.7-3.2%
  • รมว.คลัง ระบุ รัฐบาลมีแผนในระยะ 5 ปี ที่จะเพิ่มรายได้ต่อ GDP เป็น 16% เพื่อสร้างความยั่งยืนทางการคลัง หลัง
จากที่สัดส่วนรายได้ต่อ GDP ได้ทยอยปรับลดลงต่ำกว่าศักยภาพของประเทศจาก 17% ในปี 56 มาอยู่ที่ 14.9% ในปี 64 โดยจะต้องปรับ
ปรุงในหลายส่วน ทั้งการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล งบรายจ่ายประจำ และงบลงทุน โดยเฉพาะงบลงทุน ที่อาจต้องปรับปรุงอัตราส่วนเงินลง
ทุนต่อ GDP ประเทศ เพื่อให้มีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว และช่วยเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้น โดยแนวทางหนึ่ง คือการกระจายการลงทุนไปยังภาคเอกชนให้มากขึ้น" นายอาคม ระบุ
  • กกร. เล็งเสนอขอให้รัฐบาลพิจารณาชะลอการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของเดือนม.ค.-เม.ย. 66 ออก
ไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนและภาคธุรกิจ
  • คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน (NHC) ประกาศผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในวันนี้ โดยรวมถึง
การอนุญาตให้ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการของโรค กักตัวที่บ้านแทนการถูกส่งตัวไปยังสถานที่กักตัวที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้
และยกเลิกหลักเกณฑ์การแสดงผลตรวจเป็นลบในการเข้าพื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ระดับชาติ เพื่อขจัดความ
ไม่พอใจของประชาชนและสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
  • สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานในวันนี้ว่า ยอดส่งออกเดือนพ.ย.หดตัวลง 8.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งย่ำแย่กว่า
ที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจลดลง 3.5% หลังจากที่ขยับลง 0.3% ในเดือนต.ค. โดยยอดส่ง
ออกของจีนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวลง
  • กรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประกาศว่า จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจในปี 66 พร้อมให้สัญญาว่าจะยังคงดำเนินนโยบาย
การคลังเชิงรุกและกำหนดนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
  • บลูมเบิร์ก อีโคโนมิกส์ เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ฉบับใหม่ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังจะเผชิญกับปีที่เลวร้ายที่สุดใน
รอบ 30 ปี เนื่องจากวิกฤตการณ์พลังงานที่เป็นผลมาจากสงครามในยูเครนนั้น ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
  • กองทุนทั่วโลกเริ่มเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่อาจส่งสัญญาณว่า
บรรดานักลงทุนกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งกับตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย
  • นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทแคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) บริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจระดับโลกเปิดเผยว่า
เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 66 เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกชะลอลง และความระมัดระวังที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้น
เมื่อการส่งออกเริ่มลดลง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ