นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.78/79 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.70 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.60 - 34.90 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทค่อนข้างอ่อนค่า ปัจจัยจากประเทศจีนผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 มากขึ้น เช่น เซี่ยงไฮ้ยกเลิกกฎการ แสดงผลตรวจโควิดก่อนเข้าร้านอาหาร และมีการเปลี่ยนนโยบายให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถกักตัวที่บ้านได้ ด้านสกุลเงินใน ภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า เช่น เกาหลี เวียดนาม และอินโดนีเซีย
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันอังคารเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.60 - 35.00 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.28/31 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 136.13 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0553/0556 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0578 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,623.13 จุด เพิ่มขึ้น 2.64 จุด (+0.16%) มูลค่าการซื้อขาย 50,594 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 167.44 ลบ. (SET+MAI)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 0.125%-0.25% ต่อปี โดยนับเป็นการปรับขึ้นอัตรา
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 66 นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยจะอยู่ที่ราว 20-24 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการ
- นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวในระหว่างการประชุมกับผู้นำองค์กรระดับโลกที่เมืองหวงซาน มณฑลอันฮุยว่า เศรษฐกิจ
- หัวหน้าฝ่ายการลงทุนประจำเกรทเทอร์ ไชน่าของธนาคารเครดิตสวิส เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของจีนมีแนวโน้ม
- นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน เชส คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนมีโอกาสขยายตัวได้ถึง 5% ในปี 66 โดยขึ้นอยู่
- เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังจากจีนประกาศผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการ
- รมว.คลังสหรัฐ เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลักเลี่ยงภาวะถดถอยได้ เมื่อพิจารณาจากปัญหาคอขวดด้าน
- ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ชี้เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยระยะสั้น และไม่รุนแรงในปีหน้า
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย., ธนาคารกลาง