นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.85 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.70 - 34.90 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวไม่ผันผวนมาก เนื่องจากยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอดูการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย.ของสหรัฐฯ คืนนี้ และต้องติดตามผลการ ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ด้วย
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.65 - 34.90 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.68/69 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 137.66 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0536/0539 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0545 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.91 จุด เพิ่มขึ้น 2.78 จุด (+0.17%) มูลค่าการซื้อขาย 55,073 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 32.90 ลบ. (SET+MAI)
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 93.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค. 65
- ประธาน ส.อ.ท. เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft)
- ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 58.36 ปรับเพิ่มขึ้น 4.92 จุด หรือคิดเป็น
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยผลสำรวจการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ซึ่ง
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลียยังคงปรับตัวลง และความเชื่อมั่นทางธุรกิจติดลบเป็นครั้งแรกในปีนี้ หลังการปรับ
- จีนสั่งยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันติดตามบนโทรศัพท์มือถือตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จากที่ก่อนหน้านี้ ได้ใช้แอปดังกล่าวใน
- ฮ่องกงยกเลิกการบังคับใช้มาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มเติม หลังจากที่จีนเริ่มผ่อนปรน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วงไตรมาส
3/65 แต่ค่าจ้างขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ หากไม่นับช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ
(BoE) กำลังจับตามองการขึ้นค่าจ้างอย่างใกล้ชิด และพยายามประเมินความเสี่ยงของปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว ซึ่งเกิดจากภาวะ
ตลาดแรงงานตึงตัวในประเทศ