โดยมีผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้ารวม 670 โครงการ แบ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 272 โครงการ และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 398 โครงการ คิดเป็นปริมาณเสนอขายรวม 17,400 เมกะวัตต์ ขณะที่มีผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติดังกล่าว จำนวนรวม 523 ราย
สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นยังมีสิทธิยื่นอุทธรณ์พร้อมเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ภายในวันที่ 22 ธ.ค.2565 หลังจากนั้น กกพ.จะประกาศผลพิจารณาคุณสมบัติวันที่ 11 ม.ค.2566 และประกาศผลคัดเลือกวันที่ 22 มี.ค. 2566 คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในวันที่ 5 เม.ย 2566
บริษัทจดทะเบียน (บจ.) หลายรายยื่นขอเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จากรายชื่อโครงการผ่านเกณฑ์เบื้องต้นพบว่ามี บจ.ส่วนใหญ่ยื่นคำขอโครงการประเภทโซลาร์ เช่น บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) บมจ.บ้านปู (BANPU) บมจ.ยูเอซี โกลบอล (UAC) บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) บมจ. อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) บมจ.คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น (CSS) บมจ.บีพีซีจี (BCPG) บมจ.เอกรัฐวิศวกรรม (AKR) บมจ. เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ (CHOW) บมจ.ซันสวีท (SUN) และ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เป็นต้น
ส่วน บจ.ที่ยื่นโครงการวินด์ฟาร์ม เช่น GUNKUL, บมจ.บลิส อินเทลลิเจนซ์ (BLISS) และ บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ (TPIPP)
นอกจากนั้น ยังมีชื่อของบริษัทพลังงานขนาดใหญ่นอกตลาด อย่าง บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) และ บริษัท ซีแอลพี พาวเวอร์ เข้ายื่นข้อเสนอด้วย