ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.63 อ่อนค่าตามภูมิภาค หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยตามคาด ติดตามประชุม ECB-BoE

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 15, 2022 09:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.63 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.59 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าหลังที่ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ตามคาด อีกทั้ง ประธานเฟดยังส่งสัญญาณเรื่องการเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2%

"บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค วันนี้ตลาดคงย่อยข่าวประชุมเฟด ถึงแม้ประธานเฟดจะยืนยันเรื่องการเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ตลาดยังเห็นว่าทิศทางดอกเบี้ยมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลงมาแล้ว" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.80 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยต่าง ประเทศเพิ่มเติม ได้แก่ ผลประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงการประกาศตัวเลขยอดค้า ปลีกของสหรัฐฯ

THAI BAHT FIX 3M (14 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.95322% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.56368%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.76500 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.39 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 134.80 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0674 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0660 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.614 บาท/ดอลลาร์
  • กระทรวงคลังทบทวนมาตรการแจกหว่านแห เป็นภาระรายจ่ายหลังโควิดคลี่คลาย เดินหน้าทำงบประมาณสมดุล เวิลด์แบงก์
หั่นจีดีพีปีหน้าเหลือ 3.6% ชี้ถอนมาตรการช่วยเหลือบีบคนจนล้นประเทศ
  • เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ และ
ติดตามผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาอุทกภัย และลูกหนี้เสียที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ที่ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดหนี้สินครัวเรือน
ไตรมาส 2 ปี 65 มีมูลค่า 14.76 ล้านล้านบาท ขยายตัวลดลงจาก 3.7% ในไตรมาสก่อนหน้าเหลือเพียง 3.5% ซึ่งชะลอตัวต่อเนื่อง 4
ไตรมาสติดต่อกัน ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพี ลดลงเหลือ 88.2% จากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 89.2% ตามการฟื้นตัวของภาวะ
เศรษฐกิจ ส่วนคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
  • ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์ แนวโน้มเศรษฐกิจ
ในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2565 ฉบับเพิ่มเติม (a supplement of the Asian Development Outlook 2022) โดยระบุว่า
เศรษฐกิจในภูมิภาคคาดว่าจะเติบโตที่ 4.2% ในปีนี้ และ 4.6 ในปีหน้า ซึ่งปรับลดลงจากที่เคย คาดการณ์ไว้ที่ 4.3% ในปี 2565 และ
4.9% ในปี 2566 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางทั่วโลก การรุกราน
ยูเครนโดยรัสเซียที่ยืดเยื้อ และการปิดเมืองของจีนหลายรอบ ทำให้การ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด COVID-19 ของประเทศ
เอเชียกำลังพัฒนาชะลอลง แนวทางเข้มงวดภายใต้นโยบาย "Zero-COVID" รวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังประสบปัญหาทำให้แนว
โน้มการเติบโตของจีนลดต่ำลง
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ โดยเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 7 ในปีนี้ ซึ่งเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%
จำนวน 1 ครั้ง, 0.50% จำนวน 2 ครั้ง และ 0.75% จำนวน 4 ครั้ง ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4.25% ในปีนี้

ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2566 และจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2567 โดยเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีหน้า ก่อนที่จะสิ้นสุด วัฏจักรปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยระดับดังกล่าวเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2550

  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินในวันพุธ (14 ธ.ค.) โดยระบุ
ว่า เฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% และขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเฟดให้ความ
สำคัญกับการใช้นโยบายการเงินที่มีการคุมเข้มมากพอที่จะฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายดังกล่าว
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 ธ.ค.)
หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ
ตลาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (14 ธ.ค.) ก่อนที่นักลงทุนจะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม
  • ราคาบิตคอยน์ร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 18,000 ดอลลาร์ในช่วงเช้านี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี พร้อมกับส่ง
สัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.75% ภายในสิ้นปี 2566
  • เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัว 0.5% ในช่วงสิ้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 0.2% แต่ปรับลดคาด
การณ์ในปี 2566 สู่ระดับ 0.5% จากเดิมที่ระดับ 1.2% และคาดว่าจะขยายตัว 1.6% และ 1.8% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ
ขณะที่การขยายตัวในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 1.8%
  • นักลงทุนติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,
ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะมีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการ
ผลิตและภาคบริการขั้นต้นเดือนธ.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ