ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.82 แข็งค่าสวนทางตลาด รับเม็ดเงินไหลเข้าหนุน-รอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 19, 2022 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.95 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ สวนทางตลาด เนื่องจากเป็นผลของ flow ที่เข้ามาทำกำไรในช่วงใกล้สิ้นปี ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐยังมีทิศทางแข็งค่า อย่างไรก็ดี ในภาพรวมตลาดยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย

"เช้านี้บาทแข็งค่าสวนทางตลาด เป็นผลจากมี flow เข้ามาเก็งกำไร แต่ทิศทางบาทวันนี้ คาดว่าจะ sideway ไปทางอ่อน ค่า และยังไม่มีปัจจัยสำคัญมากนักในวันนี้" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.70 - 35.00 บาท/ดอลลาร์ สำหรับวันนี้ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่ จะมีผลต่อค่าเงินมากนัก ขณะที่ตลาดติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพรุ่งนี้

THAI BAHT FIX 3M (16 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.98098% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.65128%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.86500 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 135.97 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 137.21/22 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0599 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0615/0618 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.010 บาท/ดอลลาร์
  • "นายกฯ" แฮปปี้ "World Bank" ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 65 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.5 สูง
กว่าช่วงก่อนโควิดระบาดฟื้นตัวเร็วเกินคาด มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
  • "จุรินทร์" การันตีส่งออกไทยปีนี้โตแน่ 7% ส่วนปี 2566 ยังมั่นใจขยายตัวได้เป็นบวก แม้เจอมรสุมเศรษฐกิจโลกมีปัญหา
ด้านกรมการค้าต่างประเทศกางแผนงานปีหน้า ลุยเข็น "ข้าว-มันสำปะหลัง" เจาะตลาดใหม่เพิ่มรายได้ หนุนผู้ประกอบการใช้ FTA-RCEP
  • รัฐ-เอกชนโหม 'เคานต์ดาวน์' ลุ้น 'ช้อปดีฯ-เที่ยวด้วยกัน' หนุน | กรุงเทพธุรกิจ
"ททท." ผนึกภาคเอกชนจัดเต็มอีเวนต์ส่งท้ายปี "เคานต์ดาวน์ 2023" ในกรุงเทพฯ หัวเมืองท่องเที่ยว กระตุ้นกำลังซื้อ รับเท
รนด์ "เที่ยวล้างแค้น" หลังอั้น นาน 3 ปี ด้าน "อิมแพ็ค" เผยยอดจองงานแสดงสินค้า ประชุม คอนเสิร์ต ไตรมาสแรก ปีหน้าพุ่ง 146
งาน "อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ" อีเวนต์ปีนี้ฟื้น 40% หวังปีหน้ากลับโหมดปกติจับตา ครม.เคาะแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ ชงช้อปดีมีคืน 4 หมื่นบาท
ต่อคน คู่ต่อมาตรการ เราเที่ยวด้วยกัน
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของ
สหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 44.6 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 46.4 ในเดือนพ.ย. โดยดัชนี PMI ยังคง
อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว และหดตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
  • นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป
(ECB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ตลาดการเงินคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีกอย่างน้อย 2 ครั้งในปีหน้า และอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่
ระดับประมาณ 4.8% ในปีหน้า ก่อนลดลงสู่ราว 4.4% ภายในสิ้นปี 2566
  • ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า มีเหตุผลที่จะเชื่อว่า ทันทีที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดแตะระดับสูงสุด อัตรา
ดอกเบี้ยอาจจะอยู่ที่ระดับนั้นไปจนถึงปี 2567
  • นักลงทุนจับตาธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า ธนาคาร
กลางจีนจะตรึงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.65% และตรึงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีที่ระดับ 4.30%
  • นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่า BOJ จะยังคง
เดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป
  • เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของจีน ประกาศปิดโรงเรียนส่วนใหญ่ในวันนี้ (19 ธ.ค.) เนื่องจากความกังวล
ว่า การยกเลิกมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนธ.ค., ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการ

อนุญาตก่อสร้างเดือนพ.ย., ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 3/2565, ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.

จาก Conference Board, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565,

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนพ.ย.จาก Conference Board, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย. และ ดัชนี

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ