ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.82 จับตานโยบายการเงิน BOJ พรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 19, 2022 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.73-34.88 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทวันนี้ยังเคลื่อนไหวในแบบ sideway เพื่อรอปัจจัยใหม่ ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม โดยพรุ่งนี้ นักลง ทุนติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งคาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ -0.10% แต่ต้องจับตาถ้อยแถลงของ ผู้ว่าการ BOJ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับนโยบายการเงิน

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อ sentiment ของตลาด เช่น สถานการณ์โควิดในจีน, ความขัดแย้งระ หว่างรัสเซีย-ยูเครน เป็นต้น

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.70 - 35.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 136.05 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 135.97 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0628 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0599 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,618.20 จุด ลดลง 0.81 จุด (-0.05%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 44,499 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 768.97 ลบ. (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ธ.ค.) แต่ละกระทรวงจะเสนอแพ็คเกจของขวัญที่จะมอบให้กับประชาชนใน
ช่วงเทศกาลปีใหม่ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
  • แบงก์ชาติ ชี้เศรษฐกิจไทยในปี 65 และช่วงปีถัดๆ ไป จะมีแรงส่งที่สำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาค
เอกชน พร้อมมองว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนนี้ จะมีส่วนช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ
โลกได้ โดย GDP อาจจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิดได้ในช่วงปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปี 66
  • แบงก์ชาติ เผยยังไม่สามารถเจาะจงได้ชัดเจนว่าจะกลับมาเห็นการดำเนินนโยบายการเงินแบบภาวะปกติ (Policy
Normalization) ได้ในช่วงใด เนื่องจากต้องขึ้นกับสถานการณ์ในปี 66 ซึ่งคาดว่าครึ่งหลังของปีหน้าจะเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่าเศรษฐกิจ
ไทยเข้าใกล้จุดที่มีศักยภาพแล้วหรือยัง อีกทั้งเงินเฟ้อไม่ได้สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจจริงหรือไม่ พร้อมย้ำว่า หากทุกอย่างเข้าสู่ภาวะ
Smooth take off ก็ไม่จำเป็นที่แนวนโยบายการเงินจะต้องปรับแบบกระชาก หรือเปลี่ยนทิศทาง
  • Krungthai COMPASS ชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจากเครื่องยนต์เดียวคือ
ภาคการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ก็ต้องเผชิญความท้าทายใหม่ จากการเปลี่ยนผ่านเชิงนโยบายสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization)
โดยเฉพาะมาตรการทางการเงิน ซึ่ง ธปท.จะปรับค่าธรรมเนียม FIDF กลับไปที่เดิมที่ 0.46% ตั้งแต่เดือนม.ค. 66
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2566 ซึ่งจะกดดันการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.2% การส่งออก ลดลง 1.5% อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 3.2% จำนวนนักท่อง
เที่ยวต่างชาติ 22 ล้านคน อัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 66 อยู่ที่ 1.75%
  • นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพรุ่งนี้ (20 ธ.ค.) ท่ามกลางกระแส
คาดการณ์ที่ว่า BOJ จะยังคงเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เตรียมหารือกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพื่อปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยคาดว่าจะหารือกัน
เกี่ยวกับแนวทางการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้รวดเร็วขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น หลังจากมีการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
เป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จีนจากยูบีเอส (UBS) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปี
2566 ของจีน ขึ้นสู่ระดับ 4.9% จากระดับ 4.5% โดยได้แรงหนุนจากการที่จีนเปิดเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คาด
  • ผู้จัดการกองทุนและอุตสาหกรรมการเงิน ระบุว่า กลุ่มเศรษฐีชาวจีน หันหลังให้กับการถือครองสินทรัพย์ในประเทศ และหัน

ไปมองหาสินทรัพย์ในสหรัฐและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นกระแสที่จะมาแรงในปี 2566


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ