1. มาตรการ "ช้อปดีมีคืน ปี 66" เริ่ม 1 ม.ค.-15 ก.พ.66 สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาทในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2566 แบ่งเป็น 1) ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ 30,000 บาทแรกออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ 2) ค่าซื้อสินค้าหรือบริการอีก 10,000 บาทออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่เข้าร่วมมาตรการ เช่น ค่าซื้อสินค้าและค่าบริการทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าสินค้า OTOP แต่ไม่รวมสินค้าและบริการ 10 ประการ ได้แก่ สุรา เบียร์ ไวน์, ยาสูบ, รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ, ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร, ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์,ค่าบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์, ค่าที่พักโรงแรม, ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค.66 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 66 และค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
กระทรวงการคลัง คาดว่ามาตรการ "ช้อปดีมีคืน ปี 66" จะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 56,000 ล้านบาท GDP เพิ่มขึ้น 0.16% และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการขยายฐานภาษี และสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
2. ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 โดยลดภาษีให้ในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณสำหรับการจัดเก็บปีภาษี 2566
3. ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่อยู่อาศัยปี 2566 ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1และมือ 2) เฉพาะราคาประเมินไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา
4. มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินในประเทศ จากลิตรละ 4.726 บาท เหลือลิตรละ 0.20 บาท มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.66 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและบริการให้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและบรรเทาผลกระทบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสายการบินภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19
5. มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อเนื่อง ณ สถานประกอบการเดิม ประเภทใบอนุญาตเดิม ที่ยื่นคำขอระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.66 เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการให้ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์โควิด19
- มาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาทิ
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เช่น โครงการชำระดีมีคืน ลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน มาตรการส่งเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟู
2. ธนาคารออมสิน เช่น โครงการวินัยดี มีเงิน
3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เช่น ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ (ธพว.) เช่น ผ่อนดีมีคืน (บัตรกำนันสูงสุด 300 บาท) มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จาก 5 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ได้แก่
1) มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
2) มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2566 ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ.)
3) โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ให้แก่ประชาชน จากกรมธนารักษ์
4) โครงการสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความสุขที่มั่นคงของทุกภาคส่วน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)
5) โครงการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี และมีภูมิคุ้มกัน ไม่ถูกหลอกลวง จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)
6) โครงการกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2566 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกบิธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
7) โครงการ "ชม ชิม ช็อป ยาสูบเชียงราย" จากการยาสูบแห่งประเทศไทย