ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.65 แข็งค่าจากวานนี้ รับดอลลาร์อ่อนค่า ให้กรอบวันนี้ 34.50-34.85

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 21, 2022 09:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.65 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.76 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด ด้านสกุลเงินภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม ตลาดยังคงย่อยข่าวผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ของเมื่อวานนี้ ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ประกอบกับเมื่อคืนนี้ทองคำขึ้นค่อนข้างแรง ราคาทอง ฟิวเจอร์พุ่งแตะที่ระดับ 1,800 ดอลลาร์ ซึ่งอาจต้องระมัดระวังว่า อาจจะมี Flow จากฝั่งส่งออกทอง

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.85 บาท/ดอลลาร์

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามระหว่างวันให้ดู Portfolio Flow ส่วนคืนนี้ สหรัฐฯ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. จาก Conference Board และยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย.

THAI BAHT FIX 3M (20 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.03718% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.61292%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.77750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.22 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 132.15 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0615 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0629 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.916 บาท/ดอลลาร์
  • "กรุงไทย" ชี้ ปีหน้าต้นทุนแบงก์ขึ้น เหตุ กลับจ่ายเงิน เข้ากองทุนเอฟไอดีเอฟอัตราเดิม กดดันขึ้นดอกเบี้ย หวั่น
กระทบ "กลุ่มเปราะบาง" พร้อมเดินหน้าดูแลกลูกค้า ก่อนตกชั้นเป็นหนี้เสีย
  • "กกพ." ส่งซิกปรับลดค่าไฟภาคอุตสาหกรรมต่ำกว่า 5.69 บาทต่อหน่วย รอลุ้น กฟผ.-ปตท.มีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงตัว
เลขการบริหารจัดการหนี้ กฟผ.ใหม่ ด้าน OR ฟุ้งเศรษฐกิจฟื้นหนุนผลงานไตรมาส 4/65 คึกคัก พร้อมประกาศตรึงราคาน้ำมันยาว 11
วัน เป็นของขวัญปีใหม่
  • ทางการและผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขต่างประเทศ กำลังจับตาการติดเชื้อโควิด-19 ของจีนอย่างใกล้ชิด ห่วงประชากร
1.4 พันล้านคนมีวัคซีนไม่เพียงพอ และจีนอาจไม่มีเครื่องมือรักษาผู้ป่วย ระลอกใหม่ที่คาดว่าตลอดปี 2566 อาจมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 ล้านคน
ด้านธนาคารโลกหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจจีนปี 2565 และ 2566 จากผลกระทบผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิดกะทันหัน ประกอบกับ
ภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซาต่อเนื่อง
  • รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน กล่าวว่า รัสเซียอาจทำการรวบรวมกำลังทหารในเบลารุสเพื่อทำการโจมตียูเครนครั้งใหม่
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 0.5% ในเดือนพ.ย. สู่ระดับ 1.427 ล้านยูนิต แต่
การอนุญาตก่อสร้างบ้านดิ่งลง 11.2% สู่ระดับ 1.342 ล้านยูนิตในเดือนพ.ย.
  • ค่าเงินเยนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) สร้างความ
ประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการประกาศขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่น          - ดอลลาร์สหรัฐร่วง
ลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (20 ธ.ค.) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น
(BOJ) สร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการประกาศขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุน
จับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ในวันอังคาร (20 ธ.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของ
ดอลลาร์ช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับสัญญาทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)
ของสหรัฐในวันศุกร์นี้
  • ตลาดจับตาการเปิดเผยดัชนี PCE ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี PCE จะบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อได้
ผ่านจุดสูงสุดแล้ว โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคา
สินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ
  • นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 5.5% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี
ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 6.0% ในเดือนต.ค. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตรา
เงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ จะเพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 5.0% ในเดือนต.ค.
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
รายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เดือนธ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ