ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.82 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังตัวเลขศก.สหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 23, 2022 09:07 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.82 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.69 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน หลังได้รับ ปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาเมื่อคืนนี้ดีเกินคาด ทั้งยอดขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ที่น้อยลง และอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจ ช่วงไตรมาส 3/65 ที่ดีกว่าการประเมินครั้งก่อน ส่งผลให้นักลงทุนหันมาถือครองดอลลาร์กันมากขึ้น

"บาทอ่อนค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ หลังดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนให้แข็งค่าจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และ อาจมี Flow จากการนำเข้าทองคำที่ลดลงมาก จะยิ่งกดดันให้บาทอ่อนค่ามากขึ้น" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.70 - 35.05 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้ต้อง จับตาดู Flow จากการนำเข้าทองคำ และการลงทุนของต่างชาติในตลาดพันธบัตร

THAI BAHT FIX 3M (22 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.10297% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.66771%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.84000 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 131.99 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0596 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0643 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.687 บาท/
ดอลลาร์
  • "แบงก์กรุงเทพ" เผยสินเชื่อรายใหญ่เริ่มขยายตัวดี หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว หนุนเอกชนกลับมาขยายลงทุน
ด้าน "ไทยพาณิชย์" คาดปีหน้าโตเกิน 3% เผยเริ่มเห็นธุรกิจรายใหญ่ปรับทิศหันขอสินเชื่อยั่งยืนมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก
  • หลักทรัพย์บัวหลวง สรุปภาพลงทุนตลาดหุ้นไทยปีนี้เสมอตัว มองปี'66 ดัชนีทะลุ 1,800 ปัจจัยหนุนเยอะ ฟันด์โฟลว์
ต่างชาติกลับมา เลือกตั้ง ท่องเที่ยวดันเศรษฐกิจไทยโต 4% ยังต้องจับตาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ป่วนเศรษฐกิจ
  • "ธนารักษ์" ประกาศเริ่มใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบใหม่ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.2566 แจงยิบ
ราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้งประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.93% ส่วนราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างพุ่ง 6.21% สุดปังที่ดิน กทม.ทะยานอีก
2.76% ส่วนราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.60%
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 3.2%
สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.6% และ 2.9% ตามลำดับ โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ที่แข็งแกร่งรวมทั้งการลดลงของตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐ
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ระดับ 216,000
รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 222,000 ราย ส่วนจำนวนชาวอเมริกันที่ยังคงขอรับสวัสดิการว่าง
งานต่อเนื่องลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 1.672 ล้านราย
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี
(22 ธ.ค.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน
บุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 30 ดอลลาร์วันพฤหัสบดี (22 ธ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่า
ของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกหลังจากสหรัฐเปิดเผย
ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะข้อมูลแรงงาน
  • นักวิเคราะห์จากบริษัทชาร์ลส์ ชวาบ (Charles Schwab) กล่าวว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งข้อมูลแรงงาน จะยิ่งทำให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ แต่ความเสี่ยงที่จะตามมาคือ
เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไปและเป็นเวลานานเกินไป ทั้งนี้ ซันเดอร์สคาดว่า การจะ
หยุดวงจรการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้นั้น เฟดจะต้องเห็นว่าตลาดแรงงานและเศรษฐกิจอ่อนแรงลงมากพอที่จะฉุดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลง
อย่างยั่งยืน
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ ขณะที่นัก
วิเคราะห์คาดว่า ดัชนี PCE จะบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.จาก
มหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ