นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.76 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.82 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.71 - 34.93 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้ธุรกรรมเบาบางสุดในรอบหลายสัปดาห์ คาดว่านักลงทุนปิดสถานะพักการลงทุน เพราะเป็นช่วงใกล้วันหยุดเฉลิมฉลอง ขณะที่ค่าเงินภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 34.65 - 35.00 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้มีการ ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย.
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.62 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 132.43 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0608 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0596 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,617.55 จุด เพิ่มขึ้น 0.88 จุด, +0.05% มูลค่าการซื้อขาย 39,041.84 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 272.81 ล้านบาท (SET+MAI)
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เรียกร้องให้ภาครัฐชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) รอบเดือน
- จีนวางแผนลดเวลากักตัวให้กับนักเดินทางที่มาจากต่างประเทศ หลังยกเลิกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ โดยพิจารณาเปลี่ยนมา
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยในวันนี้ (23 ธ.ค.) ว่า ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่หลั่งไหลเข้าสู่จีน
- ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) และกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MTI) เปิดเผยในวันนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติมาเลเซียเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของมาเลเซีย อยู่ที่ 4%
- นายอีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลา คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะ "ถดถอยอย่างรุนแรง" ในปี 2566 และความต้องการผู้
- กระทรวงกิจการภายในของญี่ปุ่น เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานที่ไม่รวมอาหารสดปรับตัวขึ้น 3.7% ในเดือนพ.ย.
- สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์กันว่า
- นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เดือนธ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย.