นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.45 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.43 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 34.29-34.49 บาท/ดอลลาร์ ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหล เข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรระยะสั้น 1.2 หมื่นล้านบาท
"ระหว่างวันบาทผันผวนมาก ระหว่างวันแข็งค่าไปแตะระดับ 34.29 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน ก่อนจะปรับตัวอ่อนค่าในช่วงท้ายตลาด เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.30 - 34.60 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 130.45 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.18 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0553 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0652 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,678.97 จุด เพิ่มขึ้น 10.31 จุด, +0.62% มูลค่าการซื้อขาย 64,998.07 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,470.86 ล้านบาท (SET+MAI)
- นายกรัฐมนตรี ขอให้เชื่อมั่นมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีน หลังทางการจีนประกาศเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.
- ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ประกาศใช้แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จาก
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยช่วง 1 ม.ค.-31 ธ.ค.65 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสม
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ธ.ค.65 อยู่ที่ 48.4 ลดลงจากระดับ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10-34.75 บาท/
- นักวิเคราะห์ด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศจากโอซีบีซี แบงก์ สิงคโปร์ ชี้เงินบาทมีแนวโน้มที่จะได้ปัจจัยหนุนจาก
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้น 5.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
- China Index Academy (CIA) เผยผลสำรวจราคาบ้านในจีน ปรับตัวร่วงลงเร็วขึ้นในเดือน ธ.ค. สะท้อนให้
- บาร์เคลย์ แคปิตอล อิงค์ ระบุปี 2566 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกทรุดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ ขณะที่บริษัท
- รัฐบาลจีน ได้ออกแถลงการณ์ประณามประเทศต่างๆ เรื่องมาตรการตรวจโรคโควิด-19 กับผู้โดยสารที่เดินทางมา
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย
เดือนธ.ค., ดัชนีภาคการผลิต และดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), คณะกรรมการ
กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุม, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนพ.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค. เป็นต้น