ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.02 แข็งค่านำภูมิภาคจาก flow ซื้อพันธบัตร กรอบพรุ่งนี้ 33.85-34.15

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 4, 2023 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.39 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.98 - 34.39 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแกว่งกว้าง แข็งค่าจากเมื่อวานประมาณ 40 สตางค์ เนื่องจากมีกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตร ระยะสั้นประมาณ 16,000 ล้านบาท ต่อเนื่องจากเมื่อวานที่เข้ามาประมาณ 11,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าเร็ว

ส่วนประเด็นอื่นๆ ต้องติดตามเรื่องการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีนหลังจากคลายล็อกมาตรการ ซึ่งพรุ่งนี้กระทรวง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีการพิจารณาว่า จะมีมาตรการดูแลผู้เดินทางจากจีนอย่างไร

"เงินบาทระหว่างวันที่ระดับ 33.98 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ แข็งค่า แต่เงินบาทแข็งค่านำภูมิภาค" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีภาคการผลิตเดือนธ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และ การเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC)

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.85 - 34.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 130.35 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.95 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0616 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0565 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,673.25 จุด ลดลง 5.72 จุด (-0.34%) มูลค่าการซื้อขาย 76,428.64 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 21 ลบ. (SET+MAI)
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ปี 2566 โดยกำหนดกรอบ
เงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสำหรับปี
66 โดยเชื่อว่าจะช่วยเอื้อให้การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในระยะปานกลาง สามารถดำเนินควบคู่ไปกับ
การดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงสุดในไตรมาส 3/65 และมีแนวโน้ม
ทยอยปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ภายนอกประเทศ
การส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ด้านพลังงาน และภูมิรัฐศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงิน
เฟ้อในอนาคตได้
  • หน่วยงานกำกับดูแลธนาคารของสหรัฐออกมาเตือนว่า ธนาคารต่างๆ ควรตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ
คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งรวมถึงความไม่แน่นอนทางกฎหมาย และการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือทำให้เข้าใจผิดโดยบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล
หลังการล้มละลายของเอฟทีเอ็กซ์ (FTX) แฟลตฟอร์มเทรดคริปโทฯ ยักษ์ใหญ่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการการเงิน
  • นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษจะหดตัวลงรุนแรงเกือบเทียบเท่ารัสเซีย
ในปี 2566 เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพของภาคครัวเรือนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยคาด
ว่า GDP ของอังกฤษในปีนี้ จะหดตัวลง 1.2% ต่ำกว่าประเทศเศรษฐกิจใหญ่อื่นๆ ในกลุ่ม G10 ขณะที่เศรษฐกิจอังกฤษ มีแนวโน้ม
ขยายตัว 0.9% ในปี 67
  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังซบเซาอยู่ในขณะนี้ โดยกล่าวว่า การปรับขึ้น
ค่าจ้างจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาสินค้าในประเทศพุ่งขึ้น หลังวิกฤตยูเครน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของญี่ปุ่นที่จัดทำโดยธนาคาร au Jibun Bank Japan ปรับตัวลงสู่
ระดับ 48.9 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. 63 ผลสำรวจบ่งชี้ว่า กิจกรรม
การผลิตของโรงงานในญี่ปุ่น ลดลงในเดือนธ.ค. 65 ในอัตรารุนแรงที่สุดในรอบ 26 เดือน โดยบริษัทต่างๆ คาดการณ์ว่าการผลิต
จะยังคงลดลงต่อไป ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
  • นักลงทุน จับตาการเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ของสหรัฐ
ประจำเดือนพ.ย. และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่จะเปิดเผยรายงานการประชุมประ
จำเดือนธ.ค. ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ