นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.51/52 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.39 บาท/ดอลลาร์
ช่วงเช้าวันเงินบาทลงไปแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.31/33 บาท/ดอลลาร์ ส่วนในช่วงบ่ายเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยอยู่ใน ช่วง 33.50 บาท/ดอลลาร์ +/- 5 สตางค์ ทั้งนี้ เงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า น่าจะเป็นเพราะก่อนหน้านี้แข็งค่ามาหลายแล้ว จึงมีแรงซื้อ ดอลลาร์เข้ามา
"เย็นนี้เงินบาทอ่อนค่า เป็นการรีบาวด์ขึ้นมา เนื่องจากบาทแข็งค่าไปหลายวันในช่วงก่อนหน้านี้ วันนี้จึงมีแรงซื้อดอลลาร์กลับ เข้ามา" นักบริหารเงิน ระบุ
คืนนี้ตลาดรอฟังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งรอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐเดือนธ.ค. ซึ่งจะมี การรายงานในวันพฤหัสฯ นี้
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35 - 33.70 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.86/87 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 131.58 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0740/0744 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0734 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,691.41 จุด เพิ่มขึ้น 0.29 จุด (+0.02%) มูลค่าการซื้อขาย 80,561 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,330.32 ลบ.(SET+MAI)
- ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย คาดการส่งออกไทย ปี 66 มีโอกาสเติบโตได้เพียง 1% ต่ำสุดใน
- สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดการส่งออกปี 66 ขยายตัวได้ 2% แนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องตาม
- ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 66 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเติบโตได้ 3.4% จาก
- China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจจีน บ่งชี้ว่า แรงกดดันจากภาวะเงินฝืดในจีนย่ำแย่ลงในไตร
- สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานว่า ยอดการเดินทางของผู้โดยสารขาเข้าประเทศ แตะ 251,045 ครั้ง เมื่อวัน
- ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสด) ในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดัชนีวัดแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วประเทศนั้น ปรับตัว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกเปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ตลาดจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยความเป็นอิสระของธนาคาร
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี
ราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนธ.ค., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนม.ค. จากมหาวิทยาลัย
มิชิแกน