กกร.คงเป้า GDP ปี 66 มองยังมีข้อจำกัด แม้ท่องเที่ยวฟื้นหนุน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 11, 2023 14:07 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.0- 3.5% แม้เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทาง เข้าไทยสูงถึง 20-25 ล้านคน จากปัจจัยหนุนที่จีนเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.66 ขณะที่ปี 65 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 11.1 ล้านคน มากกว่าที่ได้เคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ โดยอัตราเข้าพักโรงแรมเดือนธ.ค.65 อยู่ที่ 63% เข้าใกล้ระดับปกติที่ 77%

"เดือนนี้ยังไม่มีการปรับคาดการณ์ แม้จะมีทัวร์จีนเข้ามา เพราะเป็นประเด็นที่เราได้ประเมินไว้ล่วงหน้าแล้ว เพียงแต่การ เดินทางเข้ามาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มั่นใจว่าตั้งแต่ไตรมาส 2 ภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวแน่นอน และเป็นไปอย่างทั่วถึง เพราะนัก ท่องเที่ยวจีนไม่ได้ใช้เงินมา 3 ปี จะซื้อของแบบไม่อั้น ทั้งช้อปทั้งกิน ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปจะพักผ่อนอยู่ในโรงแรม" นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กกร.กล่าว

ส่วนข้อกังวลเรื่องนักท่องเที่ยวจีนจะนำเชื้อโควิด-19 มาแพร่ระบาดนั้นเป็นข้อกังวลหรือตื่นตระหนกเกินไปกว่าเหตุ เนื่องจาก ช่วงที่ทางการจีนปิดประเทศได้มีการฉีดวัคซีนให้กับประชากรของตนเองก่อนที่จะเปิดให้เดินทางออกนอกประเทศได้ ขณะที่ระบบสาธารณสุข ของไทยมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับสถานการณ์ได้

                                     กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ของ กกร.

          %YoY          ปี 2565 (ธ.ค.65)          ปี 2566 (ธ.ค.65)          ปี 2566 (ม.ค.66)
          GDP              3.2                     3.0 ถึง 3.5               3.0 ถึง 3.5
          ส่งออก           7.25                     1.0 ถึง 2.0               1.0 ถึง 2.0
          เงินเฟ้อ           6.2                     2.7 ถึง 3.2               2.7 ถึง 3.2

แต่แม้ว่า แนวโน้มของภาคการท่องเที่ยวจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ภาคการส่งออกมีสัญญาณการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โลก ขณะที่ภาวะต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงตามราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นความท้าทายของภาคเอกชน

ประธาน กกร. กล่าวว่า สำหรับค่าไฟฟ้าแพง หลังจาก กกร.ได้มีข้อเสนอแนะและหารือกับรัฐบาลเพื่อหาแนวทางออกที่ เหมาะสมเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนพลังงาน แม้ไม่ได้ตรึงราคาตามข้อเสนอของภาค เอกชน ซึ่งอาจต้องปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงบางส่วนโดยไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป โดยหวังว่า รัฐบาลจะมีมาตรการในการดูแลค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าจากทุกภาคส่วน โดย กก ร.ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน task force ด้านพลังงาน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs วางแผนและนำเสนอแนวทางที่เกี่ยว ข้องกับการบริหารจัดการด้านพลังงาน โดยภาคเอกชนก็พร้อมที่จะปรับตัวในการใช้พลังงานทางเลือกให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ และมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตภายใต้เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงในปีนี้ โดยจะ ต้องวางแผนในระยะยาวให้มีความสมดุลทั้งด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ การดูแลสิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแข่งขันต่อไป

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การจัดตั้ง กรอ.พลังงาน จะ ช่วยให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมเหมือนที่มีการตั้ง กรอ.พาณิชย์ หรือ กรอ.ภูมิภาค เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการในวงกว้าง และจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของต่างชาติ อีกทั้งเป็นการซ้ำเติมเรื่องปัญหาเงินตเฟ้อ

"เรื่องนี้ความมีความชัดเจน ไม่ใช่ต้องมารอลุ้นกันทุก 4 เดือน เรื่องนี้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อผู้ประกอบการ รวมถึงการ ตัดสินใจเข้ามาลงทุน เพราะค่าไฟที่ประเทศเพื่อนบ้านถูกกว่ามาก สิ่งที่กังวลคือใกล้ช่วงเลือกตั้ง อาจเกิดสุญญากาศหรือการเกียร์ว่าง ก็ อยากเรียกร้องไปถึงรัฐบาลหน้าให้เข้ามาดูแลอย่างจริงจัง" นายเกรียงไกร กล่าว

สำหรับปัญหาเงินบาทแข็งค่านั้น นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า มาจากปัจจัยดอลลาร์อ่อนค่า และ การคาดหวังเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไดรับอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีน เนื่องจากรายได้หลักของไทยส่วนหนึ่งมาจากการท่อง เที่ยว นอกจากนี้ตั้งแต่ต้นปีมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นราว 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นดีมานด์ที่สูงกว่าปกติ แต่ ไม่แน่ใจว่าเป็นการพักเงินเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และคิดว่าเป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ดูแลให้เป็นไปตามกลไกตลาดอยู่ แล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ