ภาวะตลาดเงินบาท: หลุด 33 ปิดที่ 32.98 แข็งค่าสุดในรอบ 10 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 13, 2023 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้หลุดระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 32.98 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.14 บาท/ดอลลาร์ เป็นการแข็งค่าสุดในรอบ 10 เดือน

ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.93 - 33.12 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้สกุลเงินในภูมิภาค ต่างเคลื่อนไหวไป ในทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บาทแข็งค่า เป็นผลจากเงินเฟ้อสหรัฐที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่า จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราชะลอลงที่ 0.25% ในทุกครั้ง และหากเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มชะลอตัว ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่ปลายปี จะเห็นเฟด ปรับลดดอกเบี้ย

"บาทแข็งค่าไปค่อนข้างเร็ว โดยในช่วง 2 สัปดาห์นี้ แข็งค่าไปแล้ว 4% และแนวโน้มสัปดาห์หน้า ยังมีโอกาสแข็งค่าต่อ" นัก
บริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85 - 33.10 บาท/ดอลลาร์ โดยสัปดาห์หน้า ต้อง จับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 128.53 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 128.89 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0845 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0853 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,681.73 จุด ลดลง 5.72 จุด (-0.34%) มูลค่าการซื้อขาย 87,660 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 508.39 ลบ. (SET+MAI)
  • บอร์ดบีโอไอ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่า 15,784 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ
ผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า ของบริษัท บีวายดี ออโต้ คอมโพเนนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด, โครงการผลิต Carbon Black
ของบริษัท ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด และโครงการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ ของ บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ โดยโครงการที่ได้
รับอนุมัติครั้งนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สอดรับกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของบีโอไอ และจะช่วยสร้างความ
สามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขึ้นมาอยู่ที่ 3.7% จากเดิมคาด 3.2% เนื่องจากมองว่า การ
เปิดประเทศเร็วกว่าคาดของจีน ส่งผลบวกต่อภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกไทย โดยในปีนี้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาราว
4.65 ล้านคน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวม อยู่ที่ราว 25.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 22 ล้านคน

ขณะที่การส่งออกโดยรวมอยู่ที่ -0.5% หดตัวน้อยลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ -1.5% เนื่องจากการส่งออกสินค้าไปจีน โดย เฉพาะหมวดสินค้าผู้บริโภคคาดว่าจะขยายตัวมากขึ้น แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม จะยังคงกดดันการส่งออกไทยอยู่

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ว่า มีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้
และสามารถทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (soft landing) ได้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังคงฟื้นตัว และอุปสงค์
ของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อก็ตาม
  • นักวิเคราะห์คาดว่าปี 2566 เศรษฐกิจและตลาดหุ้นของยุโรปอาจทำผลงานได้ดีกว่าของสหรัฐ แม้ยุโรปจะเผชิญกับปัญหา
ต่าง ๆ เช่น สงครามในยูเครน วิกฤตพลังงาน และอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ผ่านระดับสูงสุด โดยสหรัฐในปีนี้ส่อเค้าไม่ราบรื่น และจะเผชิญกับ
ความยากลำบากเหมือนปีที่แล้ว
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษในเดือนพ.ย.65 เพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งสวนทางกับผลสำรวจความเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ ที่คาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษในเดือน พ.ย. จะหดตัวลงจากเดือนต.ค. 0.2%
  • ราคาบิตคอยน์พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ชะลอตัวลงในเดือนธ.
ค. ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ผ่อนคันเร่งในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยราคาบิตคอยน์พุ่งขึ้น 8.4% แตะที่
19,013.30 ดอลลาร์ ทะยานขึ้นเหนือระดับ 19,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย.65
  • อัตราเงินเฟ้อในฝรั่งเศสเดือนธ.ค. ลดลงแตะ 6.7% จาก 7.1% ในเดือนพ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเงินเฟ้อ เบื้อง
ต้นสำหรับเดือนธ.ค. ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสที่ปรับตัวลดลงในเดือนธ.ค. นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่า ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นแบบ
ชะลอตัว กำลังช่วยให้ยุโรปผ่านพ้นวิกฤตเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุด
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีการรายงานในสัปดาห์หน้า เช่น จีน รายงาน GDP ไตรมาส 4/2565, อัตราการว่างงาน
เดือนธ.ค., สหรัฐ รายงานดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ธ.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนม.ค.,
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ส่วนญี่ปุ่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะแถลงมติอัตราดอกเบี้ย, รายงานยอดนำเข้า ยอดส่ง
ออก และดุลการค้าเดือนธ.ค. เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ