นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.82 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.76 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.71 - 32.83 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงิน ภูมิภาคเคลื่อนไหวผสมแบบไร้ทิศทาง เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่
คืนนี้ตลาดรอดูข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI)ของสหรัฐและสหภาพยุโรป ส่วนวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับ 1.25% เป็น 1.50% แต่ต้องดูว่ามติที่ ออกมาจะเป็นเอกฉันท์หรือไม่ และมีความเห็นต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
"บาทปิดตลาดอ่อนค่าจากช่วงเช้า ระหว่างวันแกว่งตัวออกข้าง ขณะที่ตัวเลขส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมาไม่ส่งผล กระทบต่อค่าเงินบาท เนื่องจากตลาดคาดเดาได้ว่าภาวะส่งออกจะหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง" นัก บริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.65 - 32.95 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.24 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 130.33 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0856 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0872 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,682.94 จุด ลดลง 1.10 จุด, -0.07% มูลค่าการซื้อขาย 56,581 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 867 ล้านบาท (SET+MAI)
- กระทรวงพาณิชย์ เผยการส่งออกของไทยเดือน ธ.ค.65 ลดลงถึง 14.6% ที่มูลค่า 21,718 ล้านดอลลาร์ เนื่องจาก
- คณะกรรมการสภาผู้ส่งออก เรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- ครม.อนุมัติงบ 3,946.44 ล้านบาท ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 และ
- ธนาคารโลก คาดเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตเพียง 3.6% ในปีนี้ ซึ่งสะท้อนการฟื้นตัวที่ล่าช้าในภาคที่ต้องอาศัยการ
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสประจำประเทศไทยของเจพีมอร์แกน เปิดเผยว่า เงินบาทไทยที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้จะช่วย
- ธนาคารโลก ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอการเติบโตอย่างมากท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น การ
- GfK เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือน ก.พ.เนื่อง
- ผลสำรวจขั้นต้นจากเอสแอนด์พี โกลบอล เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการขั้นต้นของยูโร