ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.75/77 แกว่งแคบ ไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.60-32.80

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 26, 2023 17:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.75/77 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับ ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.74 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทค่อนข้างแกว่งในกรอบแคบ เนื่องจากการซื้อขายเบาบาง และระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อน ไหวของค่าเงินบาทมากนัก โดยตลาดรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในคืนนี้ เช่น GDP ไตรมาส 4/2565 (ประมาณ การเบื้องต้น), ยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ขณะที่วันนี้ตลาดหุ้นจีนยังคงปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60 - 32.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.95/96 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 129.12 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0893/0897 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0918 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,671.34 จุด ลดลง 10.77 จุด (-0.64%) มูลค่าการซื้อขาย 72,405.67 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,276.03 ลบ. (SET+MAI)
  • สถาบันการเงินของรัฐ มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาด
  • โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 9 แสนคัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6% โดย
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีนี้ จะกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด
  • องค์การสหประชาชาติ (UN) เผยรายงานสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกประจำปี 2566 โดยระบุว่า เศรษฐกิจ
โลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวเพียง 1.9% ซึ่งลดลงอย่างมากจากปี 2565 ที่ประมาณการไว้ว่าอาจจะขยายตัว 3.0% โดยตัวเลขคาด
การณ์เศรษฐกิจปี 2566 เป็นหนึ่งในอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปี
  • UN เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายรัดเข็มขัดด้านการคลัง เนื่องจากจะขัดขวางการเติบโตของ
เศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่เปราะบางมากที่สุด พร้อมเตือนว่า ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง ประกอบกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่าง
รวดเร็ว และภาวะเปราะบางที่เกิดจากวิกฤตหนี้สินนั้น จะส่งผลกระทบต่อความพยายามในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานสรุปมุมมองเศรษฐกิจ (Summary of Opinions) จากการประชุมประจำ
เดือนม.ค. โดยระบุว่า กรรมการ BOJ หลายคนย้ำถึงความจำเป็นในการประเมินผลกระทบของการขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
รัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา และมองว่า BOJ จำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป เนื่องจากยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย
เงินเฟ้อที่ระดับ 2%
  • ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่นักวิเคราะห์บางส่วนยังไม่แน่
ใจว่า ECB จะเดินหน้านโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้ไปอีกนานเท่าไร
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในคืนนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขาย

บ้านใหม่เดือนธ.ค. และตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2565 (ประมาณการเบื้องต้น)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ