คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เพิ่มเติม 17 สาขา เพื่อเป็นการสนับสนุนให้แรงงานฝีมือได้ รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม
สำหรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 สาขาอาชีพ จำนวน 17 สาขา ดังนี้
สาขาอาชีพ/สาขา ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ 1. ช่างระบบส่งถ่ายกำลัง 495 2. ช่างระบบปั๊มและวาล์ว 515 3. ช่างประกอบโครงสร้างเหล็ก 500 4. ช่างปรับ 500 5. ผู้ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์ 520 6. ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 545 635 715 สาขาอาชีพช่างเครื่องกล 1. ช่างซ่อมรถแทรกเตอร์การเกษตร 465 535 620 2. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตักหน้าขุดหลัง 585 3. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถขุด 570 4. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถลากจูง 555 5. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถตัก 520 สาขาอาชีพภาคบริการ 1. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด) 500 600 2. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (วารีบำบัด) 500 600 3. นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (สุคนธบำบัด) 500 600 4. พนักงานผสมเครื่องดื่ม 475 525 600 5. การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 530 6. ช่างเครื่องช่วยคนพิการ 520 600
หมายเหตุ: นับตั้งแต่ปี 2555 คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18-21 ได้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมืออาชีพแล้ว
จำนวน 112 สาขา เมื่อรวมกับที่กำหนดใหม่ในครั้งนี้อีก 17 สาขา รวมเป็น 129 สาขา
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือจะมีผลใช้บังคับ 90 วัน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และเมื่อมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามไม่ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่า จ้างขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนด หากนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ