ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.73/75 อ่อนค่าจากช่วงเช้า รอปัจจัยใหม่ ขณะที่ค่าเงินภูมิภาคผสมผสาน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 10, 2023 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.73/75 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 33.65 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.52 - 33.75 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวตามแรงซื้อ-ขายทั่วไป ยังไม่มีปัจจัยใหม่ โดยช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่า รับข่าวตัวเลขผู้ยื่นขอ สวัสดิการว่างงาน ที่วานนี้ออกมาไม่ค่อยดี จึงมีแนวโน้มว่าสหรัฐฯ อาจชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกเหมือนที่ผ่านมา ส่วนช่วงบ่ายราคาทองคำร่วง เลยทำให้เงินบาทกลับไปอ่อนค่า ด้านสกุลเงินในภูมิภาคมีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า

"เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (3 ก.พ.) มีตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมา ตลาดรับข่าวว่าสหรัฐฯ จะปรับอัตราดอกเบี้ยแบบเชิง รุกอย่างรุนแรงต่อ แต่พอเมื่อวานตัวเลขว่างงานออกมาไม่ดีกว่าที่คาดไว้ กลายเป็นว่าสหรัฐฯ อาจไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกต่อ" นักบริหาร เงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันจันทร์เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.55 - 33.75 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.91/93 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 131.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0711/0713 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,664.57 จุด ลดลง 4.60 จุด (-0.28%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 58,917 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,453.74 ลบ. (SET+MAI)
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจที่เฟดจะใช้ในการตั้งสมมติฐาน เพื่อ
ทดสอบความแข็งแกร่งด้านสถานะการเงินของธนาคารรายใหญ่ในสหรัฐในการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ประจำปี 2566 และมี
ความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการใช้สมมติฐานที่หลากหลายด้านในอนาคต
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาส 4/65 เติบโต 0.0% หลังจากหด
ตัว -0.2% ในไตรมาส 3/65 ซึ่งหมายความว่ารอดพ้นการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคได้อย่างฉิวเฉียด โดยภาวะถดถอยทางเทคนิค
หมายถึงการที่เศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส
  • นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะเลือกผู้สมัครตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) คนใหม่มารับช่วงต่อจากผู้ว่า BOJ คน
ปัจจุบัน หลังสิ้นสุดวาระผู้ว่าฯ 5 ปี เนื่องจากตลาดการเงินให้ความสนใจมากขึ้นว่า BOJ จะยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินภายใต้ผู้
นำคนใหม่หรือไม่ เนื่องจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของ BOJ ขัดแย้งกับธนาคารกลางของประเทศมหาอำนาจ เช่น ธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป ซึ่งได้ขึ้นปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ