ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.80 แข็งค่าหลังดอลลาร์ย่อตัว คาดวันนี้แกว่งในกรอบ 33.65-33.95

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 14, 2023 08:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.80 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.87 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์ย่อตัวอ่อนค่าลงมา ซึ่งน่าจะเป็นเพียงระยะสั้นๆ โดยคืนนี้ตลาด รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญคือ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพื่อประเมินทิศทางการพิจารณาปรับดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ

สำหรับทิศทางของเงินทุนต่างประเทศในช่วงนี้เป็นการทยอยไหลออกเฉลี่ยวันละ 2 พันล้านบาท

"บาทแข็งค่าหลังดอลลาร์ย่อตัวลงมา ทิศทางบาทวันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ช่วงค่ำ วันนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.65 - 33.95 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (13 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.16960% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.50498%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.81125 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.15 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 132.70 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0731 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0673 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 33.802 บาท/
ดอลลาร์
  • "แบงก์พาณิชย์" แข่งระดมเงินฝากเดือด "ซีไอเอ็มบีไทย" ชี้หวังรองรับการปล่อยสินเชื่อ หลังดีมานด์ฟื้นตามเศรษฐกิจ
เชื่อหมุดยุคดอกเบี้ยต่ำ ด้าน "เคพีพี ไดม์" คาดลูกค้าเงินฝากปีนี้ โตเท่าตัว หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับดอกเบี้ยขึ้น
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2565 จนถึง 2566 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารรัฐเริ่มปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และ
เงินฝาก
  • เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (EU) ในกรุงบรัสเซลส์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจ
ของ EU จะขยายตัว 0.9% และจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ลงด้วย แม้ว่ายังอยู่ในระดับสูงที่ 5.6% ก็ตาม
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2565 ขยายตัว
0.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าในไตรมาส 3 ที่ตัวเลข GDP หดตัวลง 0.8% โดยได้ปัจจัยหนุนส่วนหนึ่งจากการอุปโภคบริโภคในภาค
เอกชนที่ฟื้นตัว รวมทั้งโครงการอุดหนุนด้านการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งช่วยกระตุ้นภาคบริการ โดยภาคส่วนดังกล่าวมีสัดสัดส่วนสูงถึง 60%
ของตัวเลข GDP ญี่ปุ่น
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์(13 ก.
พ.) ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (13 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด
การณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 6.2% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ
6.5% ในเดือนธ.ค. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 5.4% ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ
5.7% ในเดือนธ.ค.
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค., ดัชนี

ตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.พ.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้าง

บ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนม.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนม.ค.จาก Conference Board


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ