ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.27/30 อ่อนค่าสุดรอบ 1 เดือน รับเงินไหลออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 15, 2023 17:57 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.27/30 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 33.96 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.91 - 34.30 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่า มองว่าเป็นกระแสเงินทุนไหลออกจากการขายทรัพย์สินโดยนักลงทุนต่างชาติ (Capital Outflow) ทั้งภูมิภาคเอเชีย ทั้งตลาดมาเลเซีย เกาหลี และเวียดนาม

"เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าตลอดทั้งวัน โดยปิดที่ระดับอ่อนค่าสุดของวัน และเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบประมาณ 1 เดือน กว่า หรือตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 66" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ดัชนียอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ส่วนทางฝั่งยุโรป ต้องติดตามสุนทรพจน์จากประธานธนาคาร กลางยุโรป (ECB)

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบกว้างที่ 34.20 - 34.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.30/36 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 132.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0724/0731 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0741 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,647.39 จุด ลดลง 5.37 จุด (-0.32%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 114,226 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 5,659.89 ลบ. (SET+MAI)
  • รมว.คลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีกว่าที่คาด รวมทั้งการบริโภค
ภายในประเทศที่ได้อานิสงส์จากมาตรการของรัฐ เช่น ช้อปดีมีคืน โดยการใช้จ่ายขยายตัวในระดับ 3-4% เป็นการขยายตัวในระดับที่
เหมาะสม สำหรับความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยในปี 66 มีเพียงเฉพาะภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งยืนยันว่าไทยจะไม่ชะลอด้วย
  • ธปท. ได้วางนโยบายการเงินภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวน โดยชั่งน้ำหนัก 3 ปัจจัยสำคัญควบคู่กัน คือ การ
เติบโตของเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวด
เร็วเหมือนเช่นประเทศอื่น ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ธปท. คำนึงถึงภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจ และประชาชน
  • ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ในปี 66 เศรษฐกิจไทยได้รับแรงขับ
เคลื่อนหลักมาจากภาคบริการที่กลับมาฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว ทำให้เศรษฐกิจไทยยังโตต่อไปได้ที่ 3.2% แต่ในส่วนของความเสี่ยง
เศรษฐกิจถดถอยของไทย ยังมีไม่มากเหมือนกับในกลุ่มประเทศยุโรปเพราะเงินเฟ้อยังอยู่สูง และยังเห็นการขึ้นดอกเบี้ยที่สูงต่อเนื่อง ซึ่ง
ประเทศไทยจะเป็นภาพที่แตกต่าง แต่ก็มีความเสี่ยงในที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยได้ราว 15%
  • ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนม.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 93.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดใน
รอบ 43 เดือน ปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ รวมทั้งอานิสงส์ของมาตรการช้อปดีมีคืน อย่างไรก็ตามอุปสงค์จากต่าง
ประเทศอ่อนแอลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกเปราะบางโดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย
ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อเนื่องในปัจจัยด้านราคาพลังงาน
  • ส.อ.ท. เสนอแนะภาครัฐ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. ให้ปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดที่ 2 สำหรับเดือนพ.ค.-ส.ค. 66
2. เสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3. เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน และ 4. ให้รัฐเข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ
  • เจ้าหน้าที่หลายคนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในเดือนม.ค.
  • ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชีย ซึ่งนำโดยธนาคารกลางอินเดียนั้น ต่างพากันเพิ่มทุนสำรองเงิน
ตราต่างประเทศอีกครั้ง เพื่อจะปกป้องค่าเงินของตนเอง หากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น
  • บรรดานักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีในไทย หวั่นวิตกต่อกระแสการล่มสลายของเอฟทีเอ็กซ์ (FTX) เมื่อปี 65 ดังนั้น จึงหัน

มาซบบริษัทคริปโทฯที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลกฎระเบียบของทางการในประเทศ ซึ่งช่วยให้บริษัทเหล่านี้หายใจทั่วท้องยิ่งขึ้นท่ามกลางภาวะ

ตลาดซบเซาอย่างหนัก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ