ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.68 อ่อนค่า หลายปัจจัยหนุนดอลลาร์แข็งค่า จับตา Flow-รายงานเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 22, 2023 09:04 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.68 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเล็ก น้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.65 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตและบริการของ สหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด และการปรับตัวสูงขึ้นของบอนด์ยีลด์ หลังนักลงทุนหันมาถือครองดอลลาร์แทนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

ทิศทางบาทวันนี้ น่าจะแกว่งตัวไปตามทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ โดยตลาดรอดูรายงานผลการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 1 ก.พ.66 ที่จะเผยแพร่ออกมาคืนนี้ว่าจะส่งสัญญาณอย่างไร

"บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก ทำนิวไฮของปีนี้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่า ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจและ บอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวสูงขึ้น " นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.55 - 34.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (21 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.28761% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.60411%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.64250 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.85 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 134.58 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0653 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.10662 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.580 บาท/ดอลลาร์
  • กรุงศรีฯ ชี้แนวโน้มสินเชื่อ รายใหญ่เติบโตต่อเนื่อง คาดปี 66 โต 5% หลังพบธุรกิจขอกู้ขยายกิจการต่อเนื่อง พบดีล "ซื้อ
กิจการ-ควบรวม" คึกคักกว่า 10 ดีล ดีลละ 1-5 พันล้าน ทั้งในและต่างประเทศ ชี้ธุรกิจขนาดใหญ่แห่ลงทุนที่เกี่ยวกับ "อีเอสจี" ต่อ
เนื่อง ปล่อยกู้แล้ว 3.5 หมื่นล้าน พร้อมเดินหน้า ปล่อยกู้ตามพันธกิจ 1 แสนล้านในปี 73
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SME Sentiment Index: SMESI) ประจำเดือนมกราคม 2566 เปรียบเทียบกับ
เดือนก่อนหน้า พบว่า อยู่ที่ระดับ 53.9 ลดลงจากระดับ 55.7 เนื่องจากกำลังซื้อชะลอตัวลงในช่วงปลายเดือนมกราคมหลังจากพุ่งสูงขึ้นใน
ช่วงเทศกาล และกังวลด้านต้นทุนเพิ่มอีกครั้ง
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ.ของ
สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 50.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากระดับ 46.8 ในเดือนม.ค. โดยดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาค
ธุรกิจของสหรัฐมีการขยายตัว
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (21 ก.
พ.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ความแข็งแกร่งของดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในสหรัฐจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นเวลานานขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะ
ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (21 ก.พ.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผล
ตอบแทนพันธบัตรเป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทาง
อัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 3 ครั้งในปีนี้ สู่ระดับสูงสุดที่ 5.25-5.50% ซึ่ง
สอดคล้องกับข้อมูลของ FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งบ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.
ค., พ.ค. และมิ.ย. ครั้งละ 0.25% สู่ระดับสูงสุดที่ 5.25-5.50% และตรึงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับดังกล่าว ก่อนที่จะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนธ.ค.
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.ในวันนี้ (22 ก.พ.) ตามเวลาสหรัฐ

รวมทั้งดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค.ในวันศุกร์ที่ 24 ก.พ. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ย

ของเฟด โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและ

บริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ