นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.06 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.00-34.20 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้า สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค ซึ่งดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล หลังจากที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และส่งสัญญาณค่อนข้างชัดเจนแล้วถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ใกล้จะถึงจุดสูงสุด
ขณะที่คืนนี้ ต้องติดตามการรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ซึ่งหากตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่ตลาด คาด ดอลลลาร์ก็จะอ่อนค่า ซึ่งจะทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าต่อได้
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.90 - 34.20 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.17 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 130.83 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0882 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.08840 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,593.65 จุด เพิ่มขึ้น 8.57 จุด (+0.54%) มูลค่าการซื้อขาย 49,432 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,141.43 ลบ.(SET+MAI)
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการ GDP ปี 2566 ไว้ที่ 3.7% แต่ปรับลดการส่งออกลงเหลือ -1.2% จากเดิม -
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ กนง.จะมีมติปรับขึ้นอัตรา
- ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 1.50% ในการประชุมวันนี้ โดย
- ธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (CBUAE) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.9% ในวันนี้ เพื่อให้
- ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6.25% ในการประชุมวันนี้ ขณะที่เจ้า
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง
งานรายสัปดาห์, ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/2565, ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.พ., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ
และภาคการผลิตขั้นต้น เดือนมี.ค.