สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1/66 (ม.ค.-มี.ค.66) ขยายตัว 5.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 โดยมีมูลค่ากว่า 1.82 แสนล้านบาท เนื่องจากปริมาณฝนตกสะสม ตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ราคาสินค้า เกษตรหลายชนิดที่อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มการผลิต และคาดการณ์จีดีพีทั้งปีจะขยายตัวได้ 2- 3% มีมูลค่าราว 7 แสนล้านบาท
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการ สศก. เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้จีดีพีภาคการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาพ อากาศที่ดี ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีมากเพียงพอในการเพาะปลูก ราคาผลผลิตดีจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มกำลังการผลิต การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ ประเทศจีนและญี่ปุ่นที่เป็นตลาดส่งออก และการดำเนินการตามนโยบาย BCG ที่ช่วยระดับผลผลิต
นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากกิจกรรมการผลิต การค้า และการ ท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การผลิตทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งราคาพลังงาน ราคาปุ๋ย ราคาอาหารสัตว์ และมีปัญหาเรื่องโรคระบาด รวมถึง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่ใช่แค่รัสเซียกับยูเครน ซึ่งส่งผลให้เกิดการปิดกั้นทางการค้า ต้นทุนการขนส่ง, ปัญหาธนาคารในสหรัฐฯ ล้ม แม้จะไม่ ส่งผลกระทบโดยตรงแต่อาจส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ตามมา
สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา มีดังนี้
*สาขาพืช เป็นสาขาหลักที่ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาสนี้ขยายตัวได้ดี โดยขยายตัว 7.9% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 65
- พืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด
กลุ่มไม้ผล นอกจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผลแล้ว ทุเรียนที่ปลูกแทนในพื้นที่ยางพาราและไม้ผลอื่น เมื่อปี 2561 และลำไยที่ปลูกแทนในพื้นที่ลิ้นจี่ มะนาว และไม้ผลอื่น เมื่อปี 2563 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้
- พืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนลดการบำรุงดูแลรักษาจากต้นทุนด้านราคาปุ๋ยและสารเคมี
ทางการเกษตรที่สูงขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
เช่น อ้อยโรงงาน ขณะที่มันสำปะหลัง ในช่วงเดือนส.ค.และก.ย.65 บางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนมีฝนตก
หนักและประสบอุทกภัย ทำให้น้ำท่วมขังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย ทำให้ผลผลิตในไตรมาสนี้ลดลง
*สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 0.8%
- สินค้าปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ มีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ และประเทศผู้ผลิตหลายประเทศประสบปัญหาโรคไข้หวัดนก สุกร ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก
การป้องกันและควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพภายในฟาร์มสุกรมากขึ้น ทำให้มีจำนวนแม่พันธุ์สุกรเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการบริโภคที่เพิ่ม
ขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ไข่ไก่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการปริมาณการผลิตที่เหมาะสมกับความ
ต้องการบริโภค และ น้ำนมดิบ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการดูแลโคนมที่ดีขึ้น ประกอบกับการควบคุมโรคลัมปีสกินที่ดี ส่ง
ผลให้มีจำนวนแม่โคให้นมเพิ่มขึ้น
*สาขาประมง หดตัว 0.5% โดยสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือมีปริมาณลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นต้นทุนการ ผลิตหลักของการทำประมงทะเลปรับตัวสูงขึ้น ปลานิลและปลาดุก ผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าอาหารสัตว์ ทำ ให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง และลดปริมาณการปล่อยลูกปลา ส่วน กุ้งขาวแวนนาไม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการขยายเนื้อที่ เพาะเลี้ยง และปรับเพิ่มจำนวนลูกพันธุ์และลงลูกกุ้งมากกว่าช่วงที่ผ่านมา
*สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 4.0% เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอสำหรับการเพาะ ปลูกและการเจริญเติบโตของพืช ประกอบกับในปีที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกและ ดูแลเอาใจใส่การผลิตมากขึ้น ส่งผลให้มีกิจกรรมการจ้างบริการเตรียมดินและเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
*สาขาป่าไม้ ขยายตัว 0.7% โดยไม้ยูคาลิปตัส เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษ โดย เฉพาะในตลาดญี่ปุ่นและจีน ครั่ง เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย รวมถึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงภายในประเทศเพิ่มขึ้น รังนก เพิ่มขึ้น ตามความต้องการเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปรังนก และยังมีการส่งออกไปยังจีนอย่างต่อเนื่อง ถ่านไม้ เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของ ภาคบริการ ทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร และมีการส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น
อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร หน่วย: ร้อยละ สาขา ไตรมาส 1/566 (ม.ค.-มี.ค.66) ภาคเกษตร 5.5 พืช 7.9 ปศุสัตว์ 0.8 ประมง -0.5 บริการทางการเกษตร 4.0 ป่าไม้ 0.7
นอกจากนี้ สศก.ได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น "บอกต่อ" เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถเข้าถึงบริการของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) โดยให้บริการด้วยชุดเมนูหลักต่างๆ ครอบคลุมมากกว่า 50 บริการ ได้แก่
- การแจกปัจจัยการผลิตฟรี เช่น สารเร่งซุปเปอร์ พด. น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หญ้าแฝก พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สารควบคุม
- การติดต่อขอคำปรึกษา ขอคำแนะนำ ทั้งกองทุน FTA กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่
- การตรวจรับรอง GAP อินทรีย์ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง ตรวจรับรองมาตรฐานหม่อนไหม บริการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร
- การช่วยเหลือ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง การช่วยเหลือเกษตรกรผู้
- ข้อมูลราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ เป็นข้อมูลราคารายสัปดาห์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งมีสถานการณ์สินค้าผลิตและการ
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ เป็นข้อมูลราคารายสัปดาห์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งมีสถานการณ์สินค้า ผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร รวมถึงมีข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศให้เกษตรกรได้ใช้ในการวางแผนการเพาะปลูกอีกด้วย