ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.14/16 แข็งค่าหลังกนง.ขึ้นดอกเบี้ย คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.00-34.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 29, 2023 17:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.14/16 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.23 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10 - 34.40 บาท/ดอลลาร์ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน ง.) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ส่งผลให้เรทเงินบาทลงอย่างต่อเนื่อง และแรง ขณะที่สกุลเงินในภูมิภาคค่อนข้างทรงตัว

"ก่อนหน้านี้เงินบาททรงๆ อยู่ที่ประมาณ 34.30 - 34.32 บาท/ดอลลาร์ แต่พอถึงเวลา 14.00 น. ที่ กนง.ประกาศขึ้น ดอกเบี้ย บาทก็ลงต่อเนื่อง และค่อนข้างแรง" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.00 - 34.50 บาท/ดอลลาร์ ให้กรอบกว้างเนื่องจาก วันนี้เงินบาทแข็งค่าไปค่อนข้างมาก พรุ่งนี้จึงอาจมีจังหวะที่มีแรงซื้อคืนกลับ หรืออาจมีปัจจัยผันผวนที่ส่งผลต่อเงินบาทได้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.71/75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 131.25 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0850/0854 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0844 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,610.52 จุด เพิ่มขึ้น 3.61 จุด (+0.22%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 44,496 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 11.05 ลบ. (SET+MAI)
  • กนง. มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยให้มีผลทันที เนื่องจาก
เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ
  • กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวได้ 3.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.9% โดยเงินเฟ้อจะเริ่มกลับ
เข้าสู่กรอบเป้าหมายช่วงกลางปีนี้ ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 67 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ราว 3.8% และอัตราเงินเฟ้อลดลงมาสู่
ระดับ 2.4%
  • เลขานุการ กนง. กล่าวว่า ต้องจับตาแนวโน้มเงินเฟ้อต่อไป เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจยังไม่สามารถส่งผ่านต้น
ทุนที่สูงขึ้นจากเงินเฟ้อได้มากนัก จึงทำให้มีเงินเฟ้อค้างอยู่ในระบบ ดังนั้น ภาคธุรกิจมีโอกาสที่จะส่งผ่านต้นทุนเพิ่มขึ้นได้อีกในระยะข้าง
หน้า ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากผลของภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งจะทำให้มีการใช้จ่าย
และการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้นนั้น ก็จะเป็นอีกแรงส่งให้เงินเฟ้อมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้
  • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติปี 66 จำนวน 30 ล้านคน หรือกลับ
มาที่ราว 75% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 62 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด และในไตรมาส 1/66 ประมาณการนักท่องเที่ยวราว
6.47 ล้านคน หรือ 60% ของปี 62
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.พ. 66 อยู่ที่ระดับ 98.89 หดตัว 2.71% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 65 จาก
ปัจจัยสำคัญ คือ อุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เช่น
สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) เดือนก.พ. 66 อยู่ที่ 61.87
  • ผลสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) จะยังคงคุมเข้มนโยบายการเงิน
ต่อไป โดยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในวันที่ 6 เม.ย.นี้ และหลังจากนั้นจะระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาส 1/2566 ขยายตัวเพียง 3.32% ซึ่งชะลอตัวลงอย่าง

มากจากไตรมาส 1/2565 ที่ขยายตัว 5.05% เนื่องจากการส่งออกหดตัวลงอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่อ่อนแรงลง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ