นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.38/39 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.30/35 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเย็นนี้กลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้า เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีการประชุมในต้นเดือนพ.ค.นี้ ซึ่งตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งหากออกมาดี ก็มีโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยแรง และจะ ยิ่งทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น
ขณะที่คืนนี้ นักลงทุนรอดูการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย., ราคาบ้าน เดือนก.พ. และยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค.
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.25 - 34.55 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.86 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.30/40 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1030/1033 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1052/1066 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,540.20 จุด ลดลง 17.67 จุด (-1.13%) มูลค่าการซื้อขาย 46,216 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,715.71 ลบ. (SET+MAI)
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของไทยปีนี้เหลือโต 3.6% จากเดิมคาด 3.8%
- สศค. แนะจับตาความเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ 1. ความผันผวนของตลาดการเงินโลก จากการดำเนินนโยบาย
- ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2566 ที่จะสะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้าง
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มั่นใจปีนี้ ยอดการผลิตรถยนต์ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 1.95 ล้านคัน
- ธนาคารกลางฮ่องกง เข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา เพื่อปกป้องค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้ หลังจากนักลง
- โพลล์นักวิเคราะห์ คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 4 พ.ค.
- กระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า ผู้โดยสารขาเข้าประเทศทั้งหมด จะต้องแสดงผลตรวจโรคโควิด-19 ด้วยวิธี ATK
ที่เป็นลบภายในเวลา 48 ชม. ก่อนขึ้นเครื่องบินจากเมืองต้นทาง ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย. จากเดิมที่ต้องแสดงผลตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี
PCR