นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.13 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.21 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขภาวะการค้าต่างประเทศในเดือนมี.ค.66 ที่ กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมาดีกว่าคาด โดยยอดส่งออกติดลบน้อยลง และกลับมาเกินดุลการค้า 1 พันล้านดอลลาร์ จากที่คาดการณ์ไว้ว่า จะขาดดุลการค้า 2 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น ราว 5 พันล้านบาท
"บาทแข็งค่าหลังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขส่งออกที่ดีเกินคาด ติดลบน้อยลงและกลับมาเกินดุลแทนที่จะขาดดุล และมี Flow ไหลเข้ามาราว 5 พันล้านบาท ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโร แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน" นักบริหารเงินกล่าว
นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.00 - 34.30 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (26 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.72496% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.85921%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.12250 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.59 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 133.41 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1044 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1042 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.273
- รมว.คลัง เปิดเผยว่า การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เหลือ 3.6% เป็นไป
- "บล.หยวนต้า" มองแนวโน้มส่งออกไทยครึ่งหลังฟื้น แม้ตัวเลขยังติดลบแต่ไม่น่าห่วง หลังส่งออก เดือนมี.ค.66 ลดลง
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (26 เม.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (26 เม.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัย
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า
สำหรับในปี 2565 เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 1.6% ในไตรมาส 1 และ 0.6% ในไตรมาส 2 ทำให้สหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยทาง เทคนิค ก่อนที่มีการขยายตัว 3.2% และ 2.9% ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ
- นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์ โดยดัชนี PCE เป็น
- นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับ
ตาการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 27-28 เม.ย.ภายใต้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พร้อมคาดการณ์เศรษฐกิจรายไตรมาส