นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมีนาคม 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในภาคเหนือ และภาคใต้ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในส่วนของการจับจ่ายใช้สอย และการซื้อสินค้าคงทน
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 8.5% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.7 และ 17.5 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้ง รายได้เกษตรกรขยายตัว 35.3% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.3 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.8
ขณะที่เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 547.6 ล้านบาท ขยายตัว 29.9% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานการถนอมผักพืชผลไม้โดยวิธีการดอง ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.6
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 23.7% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 16.0% และ 28.9% ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.3 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.5
ขณะที่เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 658.9 ล้านบาท ขยายตัว 284.7% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 85.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.2
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 4.7% ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 20.5% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 53.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.8
สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว -17.3% ต่อปี แต่ขยายตัว 15.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 103.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 20.0% ต่อปี จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 27.0% ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัว 25.5% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 52.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.8 ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว
นอกจากนี้ เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 103.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 2.9% ต่อปี จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 9.6% ต่อปี รายได้เกษตรกรขยายตัว 24.6% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.5 ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว
สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจาก จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว -2.4% ต่อปี แต่ขยายตัว 5.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 693.5 ล้านบาท ขยายตัว 66.3% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ในจังหวัดบึงกาฬ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 103.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 0.1% และ 25.8% ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับรายได้เกษตรกรขยายตัว 17.6% และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 52.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 49.8
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 103.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7
ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจาก จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 11.8% ต่อปี แต่ชะลอตัว -4.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 28.9% ต่อปี แต่ชะลอตัว -0.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่รายได้เกษตรกรขยายตัว 3.0% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.9
สำหรับเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 8,195.0 ล้านบาท ขยายตัว 435.0% ต่อปี จากการลงทุนโรงงานผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะและพลาสติก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.9