ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.19/22 แกว่งแคบ ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ คาดพรุ่งนี้ 34.05-34.30

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 2, 2023 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.19/22 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.15 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้ เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้า โดยระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหว ของค่าเงินมากนัก เนื่องจากตลาดรอติดตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงกลางสัปดาห์ นี้

โดยระหว่างนี้ มีตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่นักลงทุนรอดูคืนนี้ คือ การรายงานตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน และ อัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมี.ค.

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.05 - 34.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.40 เยน/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงเช้า
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0948 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0988 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,528.43 จุด ลดลง 0.69 จุด (-0.05%) มูลค่าการซื้อขาย 39,980 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,464.98 ลบ.(SET+MAI)
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับลดคาดการณ์การส่งออกปี 66 เหลือเติบโต 0-1% รวมมูลค่า
286,000-290,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 1-2% เนื่องจากไทยยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง เช่น เศรษฐกิจโลกมีความไม่
แน่นอนสูง, ต้นทุนด้านพลังงานสูง, สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง, สภาพอากาศร้อน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
  • บรรษัทรับประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) มีแผนจะยกเครื่องประกันเงินฝากขนานใหญ่ หลังเหตุการณ์
ธนาคารล้มเมื่อไม่นานมานี้ ได้ทำให้รัฐบาลสูญเงินบางส่วนที่ใช้ในการปกป้องลูกค้าของกลุ่มธนาคารที่ประสบปัญหา
  • เงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซนฟื้นตัวเล็กน้อยในเดือนเม.ย. หลังลดลงติดต่อกัน 5 เดือน เนื่องจากราคาอาหารยังคงเคลื่อน
ไหวในระดับสูง โดยกรณีดังกล่าว สร้างความซับซ้อนให้กับภารกิจของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายก่อนถึง
การประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน เดือนเม.ย. ลดลงสู่ระดับ 45.8 จาก 47.3 ใน
เดือนมี.ค.ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว
  • ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฮ่องกง (SFC) เรียก
ร้องให้ธนาคารต่าง ๆ ให้บริการแก่บรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในขณะที่ฮ่องกงกำลังผลักดันตัวเองขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกร
รมคริปโทเคอร์เรนซีของโลก
  • รมว.เศรษฐกิจของญี่ปุ่น ระบุว่า ปัญหาในภาคธนาคารของสหรัฐและยุโรป เป็นผลมาจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและ
อัตราดอกเบี้ย แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและระบบการเงินของญี่ปุ่นในตอนนี้
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 3.85% ในการประชุมวันนี้

พร้อมกับส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงิน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ