ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.44/45 อ่อนค่าต่อ ภาพจัดตั้งรัฐบาลไม่ชัด คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.20-34.50

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 22, 2023 17:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.44/45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 34.36 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.30 - 34.53 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามแรงซื้อแรงขายทั่วไป ตอบรับข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 พ.ค.) ที่นายเจอโรม พาวเวล ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาระบุว่า ยังมีแนวโน้มที่อาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อได้ หากเงินเฟ้อยังไม่ถึงจุดที่พอใจ อย่างไรก็ดี ประธานเฟด ไม่ได้ระบุว่าจะขึ้นดอกเบี้ยแน่ๆ เหมือนที่ผ่านมา ใช้คำว่า "แนวโน้ม" เท่านั้น

สำหรับปัจจัยในประเทศ ประเด็นเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่ชัดเจนนั้น ส่งผลให้เงินบาทไม่แข็งค่า

"วันนี้เงินบาทขึ้นไปแตะ 35.53 บาท/ดอลลาร์ แต่ไม่กังวล เพราะเป็นการขึ้นไปในระยะสั้นๆ 1-2 นาที และกลับตัวลงมา ยังไม่ ทะลุแนวต้าน 34.50 แบบจริงจัง ไทยยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลที่ชัดเจน ทำให้บาทไม่แข็ง วันนี้ค้างอยู่ที่ประมาณ 34.40-34.50 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้างนาน ส่วนสกุลเงินในภูมิภาคอ่อนค่าเช่นเดียวกับบาท" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.20 - 34.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 137.90/91 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 137.56 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0817/0821 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0823 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,529.24 จุด เพิ่มขึ้น 14.35 จุด (+0.95%) มูลค่าการซื้อขาย 55,533 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,461.33 ลบ. (SET+MAI)
  • 8 พรรคการเมือง นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมลงนาม MOU ในการจัดตั้งรัฐบาลและทำงานร่วมกัน
ของ 8 พรรคการเมือง โดยข้อตกลงประกอบไปด้วย 23 ข้อ และแนวทางปฎิบัติในการบริหารประเทศ 5 ข้อ
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุ ความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนในระยะนี้ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงระยะสั้น
อยากให้นักลงทุนมองประเทศไทยจากศักยภาพที่แท้จริง ซึ่งปัจจุบันพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง เอื้อต่อการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไป
ยังประเทศในอาเซียนและทั่วโลก ขณะที่สำนักงานบีโอไอ และสำนักงานอีอีซี ก็มีมาตรการส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก
  • รมว.คลัง ชี้ แม้ตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าก็ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เหตุเพราะการประเมินมุมมองของหลายองค์กร ทั้งหน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานต่างประเทศ จะพิจารณาจากความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างขีด
ความสามารถในอนาคต ซึ่งในส่วนของไทย ที่ผ่านมาต่างชาติมองว่าทิศทางการลงทุนมีความชัดเจนว่าจะลงทุนในเทคโนโลยีชั้นสูง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/66 ขยายตัว 0.51% ชะลอลงจาก
ไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ และ Soft loans รวมทั้งการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ โดยธุรกิจขนาด
ใหญ่ส่วนหนึ่งระดมทุนผ่านตราสารหนี้ ขณะที่ NPL หดเหลือ 2.68%
  • สภาพัฒน์ เผยภาวะสังคมไตรมาส 1/66 อัตราการว่างงานดีขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 1.05% ปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ แรงงานได้รับค่า
จ้างเพิ่มขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่วนหนี้ครัวเรือน ไตรมาส 4/65 อยู่ที่ 86.9% ต่อจีดีพี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง พร้อมแนะรัฐบาลใหม่
พิจารณาปรับค่าแรงให้รอบคอบ ส่วนนโยบายรัฐสวัสดิการ ควรทำแบบพุ่งเป้า
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีไว้ที่ระดับ 3.65% และคงอัตรา
ดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีที่ 4.30% ในวันนี้ ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ประเภทติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และสอดคล้องกับการคาดการณ์
ของนักวิเคราะห์
  • ผลสำรวจความเห็น ซึ่งจัดทำโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ธุรกิจแห่งชาติของสหรัฐ (NABE) ระบุว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์
ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 1/67 นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงิน
เฟ้อและความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ
  • นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า กระทรวงการคลังสหรัฐจะมีเงินสดไม่ถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในวันที่
8 หรือ 9 มิ.ย. นี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ทางกระทรวงอาจมีเงินไม่มากพอที่จะชำระหนี้ขั้นต่ำตามพันธกรณีทางกฎหมาย
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินเนอาโพลิส เปิดเผยว่า เขาสนับสนุนให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.

ย. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลามากขึ้นในการประเมินผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีต และแนวโน้มเงินเฟ้อ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ