นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.69 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.47 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวัน เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือน
ระหว่างเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างกว้างที่ 34.42 - 34.71 บาท/ดอลลาร์ ในทิศทางอ่อนค่าสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นใน ภูมิภาค เนื่องจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงดอกเบี้ยในระดับสูงเช่นนี้ไปนานกว่าที่คาดไว้ และใน ช่วงบ่าย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนพ.ค. ของยุโรปและอังกฤษ ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด จึงทำให้เงินยูโรและเงินปอนด์อ่อน ค่า อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้ยังคงต้องติดตามประเด็นการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐ ซึ่งตลาดยังมีความกังวลในส่วนนี้ค่อนข้างมาก นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50 - 34.80 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.42 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 138.48 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0782 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0816 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,534.84 จุด เพิ่มขึ้น 5.60 จุด (+0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 49,772 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,645.39 ลบ.(SET+MAI)
- แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยทีมเศรษฐกิจ เข้าหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น อนุมัติมาตรการต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวดขึ้น เพื่อติดตามการทำธุรกรรมสินทรัพย์คริปโทเคอร์เรนซี
- การประชุมครั้งล่าสุดระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ และประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยการเจรจาเป็น
- ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัล จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการค้าใน
- CEO ธนาคารเจพีมอร์แกน ระบุว่า วิกฤตการณ์แห่ถอนเงินฝาก (bank run) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคาร 3 แห่ง
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ โดยได้ปรับ
- ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.66, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่ว
ประเทศเดือนเม.ย., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/66, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือนเม.ย.,
ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.