นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.51 บาท/ดอลลาร์
เช้าวันนี้เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ จึงทำให้มี การเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเงินดอลลาร์
ประกอบกับในรายงานผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันที่ 2-3 พ.ค.ที่ออกมาเมื่อคืนนี้ แม้เฟดจะส่งสัญญาณ ว่าจะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบหน้าเดือน มิ.ย.ก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่เฟดบางราย ก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ว่าหลังจากนั้นเฟดจะไม่ขึ้น ดอกเบี้ยอีก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยิลด์) ปรับตัวสูงขึ้น และทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุล อื่น
คืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2)ของสหรัฐ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-34.80 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (24 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.76828% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.98867%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.75500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.61 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 138.51 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0762 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.554 บาท/ดอลลาร์
- อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-เม.
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศให้เครดิตพินิจ (Rating Watch) ของสหรัฐเป็น "เชิงลบ"
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 2-3 พ.ค.เมื่อคืนนี้ โดยระบุว่า กรรมการ
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (24 พ.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ยังคงเป็นปัจจัยฉุดตลาด ขณะที่นัก
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สำหรับในวันศุกร์จะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเม.ย. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้ บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)