นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.60/62 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.72 บาท/ดอลลาร์
ช่วงเย็นนี้ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากเมื่อเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.56-34.77 บาท/ดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ตลาดยังมีความกังวลต่อการเจรจาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีความคืบหน้า รวมทั้งทิศทางดอกเบี้ย นโยบายของสหรัฐ ที่แม้จะมีการส่งสัญญาณออกมาจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนมิ.ย. ไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะสิ้นสุดแล้ว เพราะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ก็ยังอยู่ในระดับสูง
คืนนี้ นักลงทุนติดตามการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ และตัวเลขประมาณการ GDP ของสหรัฐ ไตรมาส 1/2566
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50 - 34.75 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.52 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 139.61 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0742 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,535.42 จุด ลดลง 1.09 จุด (-0.07%) มูลค่าการซื้อขาย 48,514 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,822.86 ลบ.(SET+MAI)
- กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 14
- กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เผยยอดเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ณ
- ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase
- หนึ่งในคณะทำงานของรัฐบาลญี่ปุ่น คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยุติการใช้นโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
- สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีหดตัว 0.3% ในไตรมาส 1/2566 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อน
- นักลงทุนรอติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในคืนนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2), ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือน
เม.ย. และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนเม.ย.