นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.65 บาทดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.72 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เมื่อคืนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ย่อลง ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า
สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามวันนี้ คือ Flow จากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คืนนี้ต้องติดตามการรายงานตัว เลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน เดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.50 - 34.80 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (31 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.83748% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.10596%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.70000 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 139.38 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.81 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0689 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0663 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.743 บาท/ดอลลาร์
- เจ้าสัวสหพัฒน์ "นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" มองบวกเศรษฐกิจไทยยังดี เผยการมีผู้นำประเทศเป็นคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก
- หอการค้าไทย เสนอประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การเร่งจัดตั้งรัฐบาลให้เร็ว
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (31 พ.ค.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (31 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 66.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ
- สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ มีมติผ่านร่างกฎหมายการขยายเพดานหนี้ ด้วยคะแนนเสียง 314 ต่อ 117 เสียง ซึ่งจะช่วยให้
- นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือนมิ.ย.
- นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันที่ 4 มิ.ย.
- เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีศักยภาพในการเติบโตอย่างเหลือเฟือ โดยได้รับการสนับสนุนจาก
- ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคการ
ผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนเม.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จาก
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)