นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.74 บาท/ดอลลาร์ จาก ปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 34.79 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เมื่อคืนยังไม่มีปัจจัยใหม่ ภาพใหญ่ เงินบาทน่าจะเคลื่อน ไหว Sideway รอติดตามการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ใน สัปดาห์หน้าเป็นหลัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.60 - 34.90 บาท/ดอลลาร์ สำหรับ ปัจจัยที่ ต้องติดตามระหว่างวัน คือ ดุลการค้าเดือนพ.ค. ของจีน และ Flow ต่างประเทศ
THAI BAHT FIX 3M (6 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.86465% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.03560%
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.76250 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 139.34 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 139.35 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0693 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0694 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารอยู่ที่ระดับ 34.763 บาท/ดอลลาร์
- รายงานข่าวจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก
- เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวฝ่ายประสานงานด้านอินโด-แปซิฟิกกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การเมืองที่เปราะ
- ธนาคารโลกออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้สู่
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (6 มิ.ย.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร (6 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ที่ว่า
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่เปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนเม.ย. รวมถึงสต็อกน้ำมัน
- นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้ ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 75.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00- 5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 24.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%
- นักลงทุนยังรอดูสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนพ.ค.ในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต
(PPI) ประจำเดือนพ.ค.ในวันพุธที่ 14 มิ.ย. โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค และดัชนี PPI เป็นมาตร
วัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต